ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก SiPAD ที่บ้าน

ในปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆภายในบ้านที่ใช้กันอยู่นั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการใช้ชีวิต เทคโนโลยีต่างๆได้ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีความสามารถในการทำงานได้เร็วมากขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่อุปกรณ์เหล่านี้ค่อนข้างเปราะบางและเสียหายได้ง่ายจากความไม่เสถียรหรือความผิดปกติของระบบไฟฟ้า
ปัญหาหนึ่งในบ้านพักที่อยู่อาศัย เมื่อมีฟ้าผ่า หรือการลัดวงจรของระบบส่งกำลังไฟฟ้า หรือการปิด-เปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ส่งผลให้มีแรงดันเกินเข้ามาในระบบไฟฟ้า ทั้งในรูป ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุม เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจสร้างความเสียหายทางตรงให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ซึ่งทำให้ต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซมและจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ทดแทน

ตามมาตรฐาน IEEE และ IEC ไฟกระโชกหรือไฟกระชาก ที่เกิดในสภาพเป็นจริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) สาเหตุเกิดมาจาก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า และไฟกระโชกแบบช่วงยาว Temporary Over Voltages ( TOVs ) สาเหตุเกิดจากหลายอย่าง เช่น ไฟฟ้าติดๆดับๆ, อุบัติเหตุทางสายส่งไฟฟ้า, การปิด-เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่เป็นต้น
ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) นี้ เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยอาจมีค่าสูงมากกว่า 1000 โวลท์ขึ้นไปแต่มีระยะเวลาในการเกิดที่สั้นมากๆ เช่น เศษ 1 ส่วน ล้านของวินาที เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยค่าการเกิดไฟเกินนั้นอาจมีค่าต่ำกว่า 1000 โวลท์ แต่มีระยะเวลาในการเกิดยาวนานกว่าเช่น จาก 1 ส่วนพันของวินาที จนถึงหลายวินาทีเป็นต้น ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้แม้ค่า Voltages จะต่ำกว่าการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) ก็ตาม แต่เนื่องจากระยะเวลาการเกิดที่ยาวนานกว่ามาก จึงมีพลังงานมากพอที่จะทำให้อุปกรณ์ฯ เสียหายได้
อุปกรณ์ SiPAD ( ไซแพด ) เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้านวัตกรรมไทย จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ( NSTDA ) เพื่อใช้ป้องกัน อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เช่น คอมพิวเตอร์, WiFi, Router และ Modem เป็นต้น ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่า ไฟกระโชก, แรงดันไฟฟ้าเกินชั่วขณะ, แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดจากการเปิด–ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ หรือเกิดการลัดวงจรของระบบไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ด้วย STOV Technology ซึ่งมีคุณสมบัติที่ป้องกันทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ได้ในตัวเดียวกัน เพื่อความปลอดภัยสูงสุดที่มากกว่ามาตรฐาน โดย SiPAD สามารถเสียบใช้งานบนเต้ารับไฟฟ้าได้ทันทีด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญในการติดตั้งแต่อย่างใด ทำให้สะดวก รวดเร็ว และประหยัด ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง

SiPAD ( ไซแพด ) ยังเป็นอุปกรณ์ ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ที่นอกจากจะใช้งานง่ายพกพาสะดวก
เพียงแค่เสียบกับเต้ารับไฟฟ้าได้ทันทีแล้ว ยังไม่ต้องการการบำรุงรักษาใดๆ ทั้งสิ้น ทำให้ประหยัดงบประมาณในการบำรุงรักษาและยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป กรณีที่ได้รับไฟกระโชก ไม่เกินขนาดที่อุปกรณ์ป้องกันระบุไว้ จึงมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ SiPAD ( ไซแพด ) เสียบตรงไหนปลอดภัยตรงนั้น
สนใจสั่งซื้อสินค้า Click
