5 ความเสี่ยงจากไฟกระโชก หรือ ไฟกระชาก

5 ความเสี่ยงจากไฟกระโชก หรือ ไฟกระชาก

  1. ความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า

    ไฟกระโชกสามารถทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ทีวี คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ได้รับความเสียหายจากไฟกระโชก

  2. ระบบอินเตอร์เน็ตล่ม

    ไฟกระโชกสามารถทำลายอุปกรณ์ Computer Network อุปกรณ์เชื่อมต่อ Internet ทำให้การสื่อสารล้มเหลว

  3. การเกิดอัคคีภัย

    ไฟกระโชกที่รุนแรงอาจทำให้แผงวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดความร้อนสูงเกินไปจนอาจเกิดไฟไหม้ได้

  4. การลดอายุการใช้งานของอุปกรณ์

    ในบางกรณีไฟกระโชกอาจจะไม่ทำให้อุปกรณ์เสียหายทันที แต่อาจส่งผลให้วงจรภายในของอุปกรณ์เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ

  5. การสูญเสียข้อมูลสำคัญ

    สำหรับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดไดรฟ์หรือเซิร์ฟเวอร์ หากเกิดไฟกระโชก ข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในระบบอาจเสียหายได้

5 ข้อดี ของการติดตั้ง HoPAD ติดตั้งตัวเดียว ป้องกันทั้งบ้าน

hopad
HoPAD

5 ข้อดี  ของการติดตั้ง HoPAD ติดตั้งตัวเดียวป้องกันทั้งบ้าน

1) HoPAD ช่วยป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ surge ที่อาจเกิดจากฟ้าผ่า

( ไฟกระโชกช่วงสั้น ) ไฟติดๆ ดับๆ ( ไฟกระโชกช่วงยาว ) ซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้า ได้รับความเสียหายขัดข้อง

2) HoPAD (โฮมแพด) ยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้า

ช่วยลดความเสี่ยงที่อุปกรณ์ไฟฟ้าจะเสียหายก่อนเวลา ทำให้อุปกรณ์สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น

3) HoPAD (โฮมแพด) ป้องกันข้อมูลสูญหาย

สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์หรือเซิร์ฟเวอร์ ช่วยลดความเสี่ยงของข้อมูลสูญหาย เนื่องจากไฟกระโชกได้

4) HoPAD (โฮมแพด) ประหยัดค่าใช้จ่ายระยะยาว

แม้ว่าการติดตั้ง HoPAD อาจมีค่าใช้จ่ายในตอนแรก แต่การป้องกันอุปกรณ์จากความเสียหายจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้

5) HoPAD (โฮมแพด) ไม่ต้องกังวลเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

เนื่องจากอุปกรณ์ป้องกัน HoPAD เป็นการต่อขนานกับระบบ จึงไม่จำกัดจำนวนโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจึงได้รับการป้องกันทั้งหมด

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก SiPAD ที่บ้าน

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก SiPAD ที่บ้าน

ตัวกันไฟกระชาก sipad

ในปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆภายในบ้านที่ใช้กันอยู่นั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการใช้ชีวิต เทคโนโลยีต่างๆได้ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีความสามารถในการทำงานได้เร็วมากขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่อุปกรณ์เหล่านี้ค่อนข้างเปราะบางและเสียหายได้ง่ายจากความไม่เสถียรหรือความผิดปกติของระบบไฟฟ้า

ปัญหาหนึ่งในบ้านพักที่อยู่อาศัย เมื่อมีฟ้าผ่า หรือการลัดวงจรของระบบส่งกำลังไฟฟ้า หรือการปิด-เปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ส่งผลให้มีแรงดันเกินเข้ามาในระบบไฟฟ้า ทั้งในรูป ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุม เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจสร้างความเสียหายทางตรงให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์  คอมพิวเตอร์  อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ  ซึ่งทำให้ต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซมและจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ทดแทน

ตามมาตรฐาน IEEE และ IEC ไฟกระโชกหรือไฟกระชาก ที่เกิดในสภาพเป็นจริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) สาเหตุเกิดมาจาก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า และไฟกระโชกแบบช่วงยาว Temporary Over Voltages ( TOVs ) สาเหตุเกิดจากหลายอย่าง เช่น ไฟฟ้าติดๆดับๆ, อุบัติเหตุทางสายส่งไฟฟ้า, การปิด-เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่เป็นต้น

ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) นี้ เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยอาจมีค่าสูงมากกว่า 1000 โวลท์ขึ้นไปแต่มีระยะเวลาในการเกิดที่สั้นมากๆ เช่น เศษ 1 ส่วน ล้านของวินาที เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยค่าการเกิดไฟเกินนั้นอาจมีค่าต่ำกว่า 1000 โวลท์ แต่มีระยะเวลาในการเกิดยาวนานกว่าเช่น จาก 1 ส่วนพันของวินาที จนถึงหลายวินาทีเป็นต้น ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้แม้ค่า Voltages จะต่ำกว่าการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) ก็ตาม แต่เนื่องจากระยะเวลาการเกิดที่ยาวนานกว่ามาก จึงมีพลังงานมากพอที่จะทำให้อุปกรณ์ฯ เสียหายได้

อุปกรณ์ SiPAD ( ไซแพด ) เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้านวัตกรรมไทย จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ( NSTDA ) เพื่อใช้ป้องกัน อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เช่น คอมพิวเตอร์,  WiFi, Router และ Modem เป็นต้น ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่า ไฟกระโชก, แรงดันไฟฟ้าเกินชั่วขณะ, แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดจากการเปิด–ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ หรือเกิดการลัดวงจรของระบบไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ด้วย STOV Technology  ซึ่งมีคุณสมบัติที่ป้องกันทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient )  และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ได้ในตัวเดียวกัน  เพื่อความปลอดภัยสูงสุดที่มากกว่ามาตรฐาน โดย SiPAD สามารถเสียบใช้งานบนเต้ารับไฟฟ้าได้ทันทีด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญในการติดตั้งแต่อย่างใด ทำให้สะดวก รวดเร็ว และประหยัด  ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง

 SiPAD ( ไซแพด ) ยังเป็นอุปกรณ์ ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ที่นอกจากจะใช้งานง่ายพกพาสะดวก

เพียงแค่เสียบกับเต้ารับไฟฟ้าได้ทันทีแล้ว ยังไม่ต้องการการบำรุงรักษาใดๆ ทั้งสิ้น ทำให้ประหยัดงบประมาณในการบำรุงรักษาและยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป กรณีที่ได้รับไฟกระโชก ไม่เกินขนาดที่อุปกรณ์ป้องกันระบุไว้ จึงมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ SiPAD ( ไซแพด ) เสียบตรงไหนปลอดภัยตรงนั้น

สนใจสั่งซื้อสินค้า Click

วิธีป้องกันไฟกระชาก

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก HoPAD ที่บ้าน

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก HoPAD ที่บ้าน

วิธีป้องกันไฟกระชาก

ในปัจจุบันปัญหาหนึ่งในบ้านพักที่อยู่อาศัย เมื่อมีฟ้าผ่า หรือการลัดวงจรของระบบส่งกำลังไฟฟ้า หรือการปิด-เปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ส่งผลให้มีแรงดันเกินเข้ามาในระบบไฟฟ้า ทั้งในรูป ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) เกิดขั้น ลำพัง Circuit Breaker, อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด / RCBO / ELCB , UPS ฯลฯ ไม่สามารถป้องกันได้ตามที่ควร ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้านได้รับความเสียหาย

ตามมาตรฐาน IEEE และ IEC ไฟกระโชกหรือไฟกระชาก ที่เกิดในสภาพเป็นจริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) สาเหตุเกิดมาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า และไฟกระโชกแบบช่วงยาว Temporary Over Voltages ( TOVs ) สาเหตุเกิดจากหลายอย่าง เช่น ไฟฟ้าติดๆดับๆ, อุบัติเหตุทางสายส่งไฟฟ้า, การปิด-เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่เป็นต้น

ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) นี้ เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยอาจมีค่าสูงมากกว่า 1000 โวลท์ขึ้นไปแต่มีระยะเวลาในการเกิดที่สั้นมากๆ เช่น เศษ 1 ส่วน ล้านของวินาที เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยค่าการเกิดไฟเกินนั้นอาจมีค่าต่ำกว่า 1000 โวลท์ แต่มีระยะเวลาในการเกิดยาวนานกว่าเช่น จาก 1 ส่วนพันของวินาที จนถึงหลายวินาทีเป็นต้น ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้แม้ค่า Voltages จะต่ำกว่าการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) ก็ตาม แต่เนื่องจากระยะเวลาการเกิดที่ยาวนานกว่ามาก จึงมีพลังงานมากพอที่จะทำให้อุปกรณ์ฯ เสียหายได้

ด้วยนวัตกรรมของ บริษัท สตาบิล จำกัด ได้คิดค้นอุปกรณ์โฮมแพด ( HoPAD )ที่สามารถป้องกันปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ได้ จึงมั่นใจได้ว่า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านจะได้รับการป้องกันอย่างปลอดภัย

อุปกรณ์โฮมแพด ( HoPAD ) เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ( Surge Protector ) ทางสายไฟฟ้าที่ได้ถูกออกแบบ ผลิต และทดสอบตามรูปคลื่นมาตรฐาน ANSI / IEEE C62.41.-2002 และ IEC 61643-11-2011 มีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นสะพานไฟ ( Fuse ) ทำหน้าที่ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร รวมถึงเพื่อทำการตัด-ต่อ และส่วนป้องกันเสิร์จ ( Surge Protector ) ป้องกันได้ทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) โดยโครงสร้างภายนอกทำจาก Aluminium Profile ทำให้มีความปลอดภัย และมีความคงทนสูง ไม่ติดไฟ มีไฟแสดงสถานะ Power และ Fault ส่วนภายในมีอุปกรณ์สำคัญที่ทำหน้าที่ในการรับไฟกระโชกได้เป็นอย่างดี  ป้องกันได้ครบทุกโหมด ( All modes protection ) L-N ,L-G, N-G และกินไฟน้อยกว่า 0.005 A

จึงมั่นใจได้ว่า  อุปกรณ์โฮมแพด  ( HoPAD ) เป็นอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก เสิร์จ ( Surge ) ติดตั้งตัวเดียวป้องกันทั้งบ้านได้

สนใจสั่งซื้อสินค้า click

เครื่องป้องกันไฟกระชาก