5 ข้อดี ของการติดตั้ง SiPAD เสียบตรงไหนป้องกันตรงนั้น

5 ข้อดี ของการติดตั้ง SiPAD เสียบตรงไหนป้องกันตรงนั้น

  1. SiPAD มีขนาดเล็ก ใช้งานง่าย ติดได้ด้วยตัวเอง

ครั้งแรก” ที่อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก (Surge Protector) มีขนาดเล็ก สะดวกและติดใช้งานได้ง่ายด้วยตัวท่านเอง

  1. SiPAD ป้องกันสูงสุดด้วย STOV Technology

STOV Technology ป้องกันไฟกระโชกช่วงสั้น และช่วงยาว ได้ในตัวเดียวกัน

  1. SiPAD ผลิตจากวัสดุไม่ลามไฟ

ตัวอุปกรณ์เป็นพลาสติกชนิดพิเศษไม่ลามไฟ

  1. SiPAD ไม่จำกัดจำนวนโหลด

เครื่องใช้ไฟฟ้าจุดที่เสียบกับไซแพด จึงได้รับการป้องกันทั้งหมด

  1. SiPAD ได้รับการขึ้นทะเบียน บัญชีนวัตกรรมไทย

มั่นใจในคุณภาพไซแพดได้รับการขึ้นทะเบียน บัญชีนวัตกรรมไทย จากสำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.stabil.co.th/products/sipad/sipad-portable-surge-protector/

5ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่คิดว่าป้องกันไฟกระโชกได้

 

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่คิดว่าป้องกันไฟกระโชกได้

 

  • 1. UPS ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ UPS คือสำรองไฟฟ้าเวลาไฟดับ และตัว UPS เองเปรียบเสมือนเป็นโหลดตัวหนึ่ง ซึ่งอาจได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้ รวมถึงโหลดที่ต่อใช้งานกับ UPS ก็อาจได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้ด้วยเช่นเดียวกัน

ซึ่ง UPS บางรุ่น ระบุว่า Built-in Surge Protector  เพื่อป้องกันไฟกระโชกแล้ว แต่ก็เป็นเพียงการเพิ่มอุปกรณ์ MOV ตัวเล็กๆ ในวงจร เพื่อใช้ในการป้องกันไฟกระโชกแบบช่วงสั้น Transient ในเบื้องต้นเท่านั้น จึงจำเป็นที่จะต้องหาอุปกรณ์ Surge Protector ที่ป้องกันได้ทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น Transient และไฟกระโชกแบบช่วงยาว TOVs มาต่อไว้หน้า UPS เพื่อเป็นการป้องกัน UPS ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากไฟกระโชก

  • 2. Stabilizer ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ Stabilizer คือปรับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่ กรณีเกิด Over voltage หรือ Under voltage แต่ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ เนื่องจากไฟกระโชกเกิดขึ้นรวดเร็วมาก (มีความเร็วเศษหนึ่งส่วนล้านของวินาที) ซึ่งอุปกรณ์ Stabilizer ไม่สามารถตอบสนองได้ทัน ทำให้ตัว Stabilizer รวมถึงโหลดที่ต่อใช้งานกับ Stabilizer ก็อาจได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้ จึงจำเป็นที่จะต้องหาอุปกรณ์ Surge Protector ที่ป้องกันได้ทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น Transient และไฟกระโชกแบบช่วงยาว TOVs มาต่อไว้หน้า Stabilizer เพื่อเป็นการป้องกัน Stabilizer และโหลดไม่ให้ได้รับความเสียหายจากไฟกระโชก

  • 3. อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด / RCBO / ELCB ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด / RCBO / ELCB คือป้องกันไฟดูดไฟรั่ว ซึ่งจะตัดไฟกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินเท่านั้นทำให้ผู้ใช้งานไม่ได้รับอันตรายจากการโดนไฟฟ้าดูด ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่ในการป้องกันไฟกระโชก จึงทำให้โหลดที่ต่อใช้งานอยู่ยังคงได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้

  • 4. Circuit Breaker ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ Circuit Breaker ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าออกจากระบบไฟฟ้า ในกรณีไฟฟ้าลัดวงจร หรือ ใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัด  ซึ่งอุปกรณ์ Circuit Breaker นี้ทำงานโดยใช้หลักการของ Bi-metal ซึ่งเมื่อเกิดการลัดวงจรไฟฟ้า หรือใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัดจะเกิดความร้อนที่โลหะ Bi-metal ซึ่งโลหะ Bi-metal นี้จะโก่งตัวไม่เท่ากันเมื่อเกิดความร้อนและจะตัดวงจรออกจากระบบไฟฟ้า ซึ่งคุณลักษณะการทำงานของ Circuit Breaker เช่นนี้ ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ เพราะกระแสไฟกระโชก จะต้องไหลผ่าน Circuit Breaker เข้าไปในระบบไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว ตัว Circuit Breaker ถึงจะเริ่มเกิดความร้อนแล้วตัดวงจรไฟฟ้าออกจากระบบไฟฟ้า นั่นหมายความว่า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Loads) ได้พังเสียหายไปเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่ Circuit Breaker จะตัดวงจรออก

  • 5. Fuse ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ Fuse คือ ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าออกจากระบบไฟฟ้า ในกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด หรือ เกิดไฟฟ้าลัดวงจร เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน Fuse มากเกินไป Fuse จะร้อนแล้วขาด เพื่อตัดวงจรออกจากระบบไฟฟ้า  ป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Loads) พังเสียหายมากไปกว่านี้ หรือ ลุกไหม้ติดไฟได้ ซึ่งคุณลักษณะการทำงานของ Fuse เช่นนี้ ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ เพราะกระแสไฟกระโชก จะต้องไหลผ่าน Fuse เข้าไปในระบบไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว ตัว Fuse ถึงจะเริ่มเกิดความร้อนแล้วขาดออก นั่นหมายความว่า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Loads) ได้พังเสียหายไปเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่ Fuse จะขาดออก

อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ต้องใช้ Surge Protector ที่มีคุณสมบัติป้องกันทั้งไฟกระโชกช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ได้

 

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.stabil.co.th/surge-protector-hopad

เครื่องป้องกันไฟกระชาก

วิธีป้องกันไฟกระชาก

5 ความเสี่ยงจากไฟกระโชก หรือ ไฟกระชาก

5 ความเสี่ยงจากไฟกระโชก หรือ ไฟกระชาก

  1. ความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า

    ไฟกระโชกสามารถทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ทีวี คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ได้รับความเสียหายจากไฟกระโชก

  2. ระบบอินเตอร์เน็ตล่ม

    ไฟกระโชกสามารถทำลายอุปกรณ์ Computer Network อุปกรณ์เชื่อมต่อ Internet ทำให้การสื่อสารล้มเหลว

  3. การเกิดอัคคีภัย

    ไฟกระโชกที่รุนแรงอาจทำให้แผงวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดความร้อนสูงเกินไปจนอาจเกิดไฟไหม้ได้

  4. การลดอายุการใช้งานของอุปกรณ์

    ในบางกรณีไฟกระโชกอาจจะไม่ทำให้อุปกรณ์เสียหายทันที แต่อาจส่งผลให้วงจรภายในของอุปกรณ์เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ

  5. การสูญเสียข้อมูลสำคัญ

    สำหรับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดไดรฟ์หรือเซิร์ฟเวอร์ หากเกิดไฟกระโชก ข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในระบบอาจเสียหายได้

5 ข้อดี ของการติดตั้ง HoPAD ติดตั้งตัวเดียว ป้องกันทั้งบ้าน

hopad
HoPAD

5 ข้อดี  ของการติดตั้ง HoPAD ติดตั้งตัวเดียวป้องกันทั้งบ้าน

1) HoPAD ช่วยป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ surge ที่อาจเกิดจากฟ้าผ่า

( ไฟกระโชกช่วงสั้น ) ไฟติดๆ ดับๆ ( ไฟกระโชกช่วงยาว ) ซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้า ได้รับความเสียหายขัดข้อง

2) HoPAD (โฮมแพด) ยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้า

ช่วยลดความเสี่ยงที่อุปกรณ์ไฟฟ้าจะเสียหายก่อนเวลา ทำให้อุปกรณ์สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น

3) HoPAD (โฮมแพด) ป้องกันข้อมูลสูญหาย

สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์หรือเซิร์ฟเวอร์ ช่วยลดความเสี่ยงของข้อมูลสูญหาย เนื่องจากไฟกระโชกได้

4) HoPAD (โฮมแพด) ประหยัดค่าใช้จ่ายระยะยาว

แม้ว่าการติดตั้ง HoPAD อาจมีค่าใช้จ่ายในตอนแรก แต่การป้องกันอุปกรณ์จากความเสียหายจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้

5) HoPAD (โฮมแพด) ไม่ต้องกังวลเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

เนื่องจากอุปกรณ์ป้องกัน HoPAD เป็นการต่อขนานกับระบบ จึงไม่จำกัดจำนวนโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจึงได้รับการป้องกันทั้งหมด

การป้องกันตัวเองหรือทรัพย์สินของท่านเพื่อไม่ให้ได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า

การป้องกันฟ้าผ่า หมายถึงการป้องกันตัวเองหรือทรัพย์สินของท่านเพื่อไม่ให้ได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า

ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการถ่ายเทประจุระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดิน ทำให้เกิดฟ้าผ่าที่อาจสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ดังนั้นการป้องกันฟ้าผ่าจึงเป็นสิ่งสำคัญ และนี่คือบางวิธีที่คุณสามารถทำเพื่อป้องกันฟ้าผ่า:

1. ติดตั้งระบบ Lightning Protection and Grounding System ระบบสลายประจุฟ้าผ่า ล่อฟ้า และสายดินแบบ GEPAC เป็นรูปแบบและวิธีการที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในสภาพพื้นที่ประเทศไทย โดยอาศัยหลักการของระบบล่อฟ้าแบบฟาราเดย์ทำงานร่วมกับตัวปล่อยประจุไฟฟ้าที่หัวล่อฟ้า SiDAT เพื่อสลายประจุฟ้าผ่าที่ก้อนเมฆ และผลจากสภาพของ Common Earth ของดินในประเทศไทย ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการปล่อยประจุไฟฟ้าจำนวนมากตามธรรมชาติที่ตำแหน่งหัวล่อฟ้า SiDAT ทำให้เกิดการถ่ายเทประจุฟ้าผ่าระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดิน โดยผ่านทางหัวล่อฟ้า SiDAT อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้มีสภาพความสมดุลเป็นกลางเกิดขึ้น จึงส่งผลให้ไม่มีประจุฟ้าผ่าสะสมที่ก้อนเมฆมากพอที่จะทำให้เกิดฟ้าผ่า ณ บริเวณนั้น

2. ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า: ในกรณีที่มีพายุหรือสถานการณ์การเกิดฟ้าผ่าในบริเวณใกล้เคียง ควรปิดและถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด เช่น คอมพิวเตอร์, โทรทัศน์, และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ เพื่อป้องกันไฟกระชากที่เกิดจากฟ้าผ่า เหนี่ยวนำเข้ามาในระบบ

3. ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน ไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ surge ptotector หากมีไฟกระโชก ที่เกิดจากฟ้าผ่าเหนี่ยวนำเข้ามา อุปกรณ์ป้องกัน ไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ surge ptotector จะนำ ไฟกระโชกที่เกิดขึ้นนั้น ผ่านตัวอุปกรณ์ป้องกัน และนำไปทิ้งลงดินทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆภายในอาคารปลอดภัย

4. อยู่ในที่ปลอดภัย: หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่เป็นเป้าหมายของฟ้าผ่า เช่น ไม่นั่งอยู่ที่ยอดเขา, ไม่อยู่ใต้ต้นไม้ที่สูง, และไม่อยู่ในสถานที่ที่โล่งแจ้ง

5. อย่าใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เป็นสื่อล่อฟ้าในระหว่างภัยฟ้าผ่า เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเป็นตัวนำสายฟ้าผ่า.

6.รับข้อมูลสภาพอากาศ: รับข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศในพื้นที่ของคุณ ติดตามข้อมูลจากสถานีโทรทัศน์หรืออินเตอร์เน็ตเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดพายุ ฝนฟ้าคะนองและฟ้าผ่าบริเวณใกล้เคียง

การป้องกันฟ้าผ่าเป็นสิ่งสำคัญเพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยต่อตัวท่านและทรัพย์สินในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าในพื้นที่ของท่าน.

 

 

ความสำคัญของอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก เพื่อยืดอายุการใช้งานให้เครื่องใช้ไฟฟ้า

 

ความสำคัญของอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก เพื่อยืดอายุการใช้งานให้เครื่องใช้ไฟฟ้า

 ฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวแต่ไม่เล็กสำหรับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่พังเสียหาย ป้องกันได้อย่างไร ?

ขณะที่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่ใช้งานอยู่ เช่น ตู้เย็น ทีวี โทรทัศน์ เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องชงกาแฟ หากมีไฟกระโชก ไฟกระชากเกิดขึ้นมาจะส่งผลกระทบให้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน พัง เสียหายได้ เราสามารถหาวิธีป้องกันกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเรา ให้อยู่กับเราไปนานๆได้ จากผลกระทบของแรงดันไฟฟ้าที่ ไม่สม่ำเสมอ ,ไฟติดไฟดับ, ฟ้าผ่า, หม้อแปลงระเบิด เพื่อไม่ให้ส่งผลทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านชำรุด

 

 

ไฟกระโชก ไฟกระชาก เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

สาเหตุของการเกิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ มีหลายอย่าง ไม่ใช่แค่ไฟกระโชก ไฟกระชาก สาเหตุที่เราสามารถพบได้บ่อย ๆ คือ

ไฟเกิน (Over Voltage) คือ แรงดันไฟฟ้าที่มากกว่า 230V จะเกินแค่ระยะเวลา หนึ่งส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านค่อนข้างมากเพราะอาจจะทำให้อุปกรณ์ฯของเราได้รับความเสียหายได้

ไฟกระชาก ( Surge ) คือ แรงดันไฟฟ้าที่มาแบบขาด ๆ เกิน ๆ 230 V อาจจะมีกระแสไฟฟ้าเกินช่วงระยะเวลา สั้น ๆ ชั่วขณะ สาเหตุมาจาก ฟ้าผ่า, ระบบไฟฟ้าที่ไม่เสถียร, ไฟติดไฟดับ, หม้อแปลงระเบิด เป็นต้น ส่งผลให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านต่างๆ ที่ต่อใช้งานอยู่ในระบบไฟฟ้าได้รับความเสียหายอาจจะโดยทันทีหรือทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

 

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับมือไฟกระโชก ไฟกระชากได้ดี

วิธีป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้รับผลกระทบจากไฟกระโชก ไฟกระชาก นั่นคือการป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีและยังแถมยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเของเราให้อยู่กับเราไปนานๆ

จึงสรุปได้ว่า หลักการทำงานของ อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก เสมือนมี รปภ. คอยรักษาความปลอดภัยเพื่อไม่ให้โจรร้านบุกรุกทำลายทรัพย์สินบ้านของคุณนั่นเอง

 

คริปโทเคอร์เรนซี เทรนด์ที่จะเกิดขึ้น มือใหม่นักขุดเหรียญที่ควรเตรียมพร้อม

 

คริปโทเคอร์เรนซี เทรนด์ที่จะเกิดขึ้น มือใหม่นักขุดเหรียญที่ควรเตรียมพร้อม

ในปี 2022 คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ก้าวเข้าไปมีบทบาทที่เชื่อมโยงกับธุรกิจต่างๆ มีแนวโน้มสูงว่า บริษัทเกิดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจไม่ว่าจะเป็น ตลาดแลกเปลี่ยนคริปโทฯ บริษัทขุดเหมือง หรือ แม้กระทั่ง บรรดา Payment Company จะผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด รวมถึง การยื่นขอเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ มากกว่าที่เคยเกิดขึ้นในปี 2021 ด้วยการที่ คริปโทเคอร์เรนซี หรือเงินสกุลเหรียญดิจิตอล มีอัตราการเติบโต และมีมูลค่าการซื้อขายได้อย่างอิสระ และเป็นสกุลเงินเหรียญที่มีมูลค่าอ้างอิงราคาซื้อขายแลกเปลี่ยน โดยทุกคนที่เป็นเจ้าของเหรียญคริปโทฯ นั้นๆ สามารถเป็นผู้กำหนด และระบบตวามปลอดภัยในการถือครอง ผ่านระบบการเข้ารหัสจากคอมพิวเตอร์ทั่วทุกมุมโลก นั้นคือการเก็บข้อมูลบัญชีธุรกรรมรูปแบบหนึ่ง ที่เรียกกันว่า Blockchain

นอกจากรายได้ที่มาจากการเก็งกำไรเทรดเหรียญคริปโทฯ ตามกระดานซื้อขายแลกเปลี่ยนชั้นนำแล้ว ยังมีอีกอาชีพหนึ่ง หรืองานอดิเรกยามว่างของผู้ที่ต้องการมีรายได้เสริม ประกอบกับการลงทุนครั้งเดียว นั้นคือการเป็นนักขุดเหรียญ

โดยปัจจุบัน เหรียญที่นักขุดนิยมเสาะแสวงหา เพื่อการครอบครองคือเหรียญสกุลเงิน “Bitcoin” และ “Ethereum” เนื่องจาก “Bitcoin” และ “Ethereum” ในทั่วโลกนั้นเป็นเหรียญที่จำนวนจำกัด และเหลือในระบบการขุดไม่กี่เหรียญ มูลค่าของเหรียญทั้งสองดึงดีดตัวสูงมากขึ้น เป็นทวีคูณ แต่การเป็นที่คุณจะเป็นนักขุดเหรียญ คุณต้องลงทุนด้านใดบ้าง?

 

สิ่งที่แรกที่คุณต้องรู้เพื่อก้าวเข้าสู่วงการเป็น เจ้าของเหมือง คือ การติดตามสถานการณ์ ค่าเงินเหรียญคริปโทฯ เพราะตลาดคริปโทฯ มีความผันผวนสูงที่มาพร้อมกับความเสี่ยง เมื่อคุณมีข้อมูลครบและพร้อมกล้าที่จะเสี่ยง การเป็นนักขุดเหรียญคุณจำเป็นต้องมีเหมืองเป็นของตัวเอง และแน่นอนคุณจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ชุดขุดเหรียญ หรือที่เรียกว่า  ริก (Rig) ขุดเหรียญดิจิตอล

สำหรับเครื่อง ริก (Rig) นั้น เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบเพื่อการขุดหาเหรียญผ่าน การ์ดจอโดยเฉพาะ สำหรับการใช้งานเพื่อการขุดเหรียญ จะใช้ระบบปฏิบัติการ (OS) มากที่สุดอันได้แก่ MS Windows, Mac OS และ Linux ส่วนค่าตัวของเครื่อง ริก (Rig) นั้นขึ้นอยู่กับสเปคและงบประมาณตามที่คุณต้องการ ยกตัวอย่างเช่น

ริก (Rig) ขุด ASUS 1660Ti 6 ใบ รุ่น TOP สุด แรงขุด 198-200 mh

  • ริก (Rig) ขุด ASUS 1660Ti 6 ใบ
  • เมนบอร์ด MSI B450 Tomahawk Max 2
  • ซีพียู Athlon 3000G 3.5GHz แรม DDR4 Kington Fury Beast 8 GB Bus 2666 (LT)
  • PSU Thermaltake BM2 650×2 รวม 1300w แบบถอดสายได้
  • ASUS GTX 1660TI 6 ใบรุ่น TOP OC
  • USB Sandisk Mini 32 GB
  • ปุ่มสวิตช์เปิดปิด เจาะฝั่ง ริก (Rig) สวยงาม ไรเซอร์
  • แสดงอุณหภูมิแบบดิจิตอล 6 อัน
  • พัดลม Rack Glink 2500 รอบ
  • หม้อแปลงไฟบ้าน 220v 6 ตัว (made in Taiwan)
  • ปลั้กไฟยาว 8 ช่องเสียบ
  • Stabilizer 3000w 1 ตัว สำหรับป้องการไฟตก

โดยสรุปราคาตามสเปคดังกล่าว จบอยู่ที่ไม่เกิน 200,000 บาท แต่เมื่อเทียบกับรายรับที่เข้ามา คำนวณรายได้

เรท ณ วันที่ 24/11/64

  • การขุดเหรียญ ETH รายได้ประมาณ 13,500 บาทต่อเดือน
  • ค่าไฟ ประมาณ 1,500 บาทต่อเดือน
  • รายได้สุทธิ ประมาณ 10,000 -12,000 บาทต่อเดือน เพียง 17 เดือนก็สามารถคืนทุนในการลงทุนเปิดเหมืองแล้ว

แต่การเปิดเหมืองโดยการซื้อเครื่อง ริก (Rig)  มาขุดเหรียญค่าใช้จ่ายคงไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะคุณยังต้องคำนึงถึง การดูแลรักษาเครื่อง ริก (Rig)  ให้รอดปลอดภัยจากฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ TOVs ด้วยเหตุที่เครื่อง ริก (Rig)  จำเป็นต้องเปิดเครื่องให้ระบบทำงานตลอด 24 ชม. และฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ TOVs เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เครื่อง ริก (Rig)  ของคุณเกิดความเสียหาย อย่างที่คุณไม่ทันตั้งตัว อันเนื่องมาก วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ภายในเครื่อง ริก (Rig)  นั้นมีความเปราะบาง นอกจากไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่มาโจมตีเครื่อง ริก (Rig)  ของคุณแล้ว ฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ TOVs ก็ทำให้คุณปวดหัวไม่แพ้กัน นอกจากเครื่อง ริก (Rig) จะพังเสียหายแล้ว รายได้ในแต่ละวันที่คุณควรได้ก็หายไปด้วย เรียกได้ว่า ของก็เสีย เงินก็หาย แถมต้องมาเสียค่าซ่อม ทั้งที่เหตุการณ์ดังกล่าว สามารถป้องกันได้

เครื่อง ริก (Rig) มีราคาสูงเราควรที่จะต้องเลือกอุปกรณ์ ป้องกันมากกว่า จากเดิมมากยิ่งขึ้น แต่เดิมใช้ปลั๊กพ่วงธรรมดา คุณอาจจะต้องเปลี่ยนมาใช้ปลั๊กพ่วงป้องกันฟ้าผ่า และสามารถป้องกัน TOVs ได้ด้วย จะดีกว่าไหม ถ้าหากคุณมี อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่าและไฟกระโชก หลักพันที่สามารถป้องกันไม่ให้เครื่อง ริก (Rig)  ของคุณ ไม่ให้ลาโลกก่อนวัยอันควร อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่าและไฟกระโชก จึงเป็นสิ่งที่น่าลงทุน สำหรับนักขุดเหรียญที่ไม่ควรมองข้าม