5 ข้อดี ของการติดตั้ง SiPAD เสียบตรงไหนป้องกันตรงนั้น

5 ข้อดี ของการติดตั้ง SiPAD เสียบตรงไหนป้องกันตรงนั้น

  1. SiPAD มีขนาดเล็ก ใช้งานง่าย ติดได้ด้วยตัวเอง

ครั้งแรก” ที่อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก (Surge Protector) มีขนาดเล็ก สะดวกและติดใช้งานได้ง่ายด้วยตัวท่านเอง

  1. SiPAD ป้องกันสูงสุดด้วย STOV Technology

STOV Technology ป้องกันไฟกระโชกช่วงสั้น และช่วงยาว ได้ในตัวเดียวกัน

  1. SiPAD ผลิตจากวัสดุไม่ลามไฟ

ตัวอุปกรณ์เป็นพลาสติกชนิดพิเศษไม่ลามไฟ

  1. SiPAD ไม่จำกัดจำนวนโหลด

เครื่องใช้ไฟฟ้าจุดที่เสียบกับไซแพด จึงได้รับการป้องกันทั้งหมด

  1. SiPAD ได้รับการขึ้นทะเบียน บัญชีนวัตกรรมไทย

มั่นใจในคุณภาพไซแพดได้รับการขึ้นทะเบียน บัญชีนวัตกรรมไทย จากสำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.stabil.co.th/products/sipad/sipad-portable-surge-protector/

5ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่คิดว่าป้องกันไฟกระโชกได้

 

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่คิดว่าป้องกันไฟกระโชกได้

 

  • 1. UPS ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ UPS คือสำรองไฟฟ้าเวลาไฟดับ และตัว UPS เองเปรียบเสมือนเป็นโหลดตัวหนึ่ง ซึ่งอาจได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้ รวมถึงโหลดที่ต่อใช้งานกับ UPS ก็อาจได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้ด้วยเช่นเดียวกัน

ซึ่ง UPS บางรุ่น ระบุว่า Built-in Surge Protector  เพื่อป้องกันไฟกระโชกแล้ว แต่ก็เป็นเพียงการเพิ่มอุปกรณ์ MOV ตัวเล็กๆ ในวงจร เพื่อใช้ในการป้องกันไฟกระโชกแบบช่วงสั้น Transient ในเบื้องต้นเท่านั้น จึงจำเป็นที่จะต้องหาอุปกรณ์ Surge Protector ที่ป้องกันได้ทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น Transient และไฟกระโชกแบบช่วงยาว TOVs มาต่อไว้หน้า UPS เพื่อเป็นการป้องกัน UPS ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากไฟกระโชก

  • 2. Stabilizer ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ Stabilizer คือปรับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่ กรณีเกิด Over voltage หรือ Under voltage แต่ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ เนื่องจากไฟกระโชกเกิดขึ้นรวดเร็วมาก (มีความเร็วเศษหนึ่งส่วนล้านของวินาที) ซึ่งอุปกรณ์ Stabilizer ไม่สามารถตอบสนองได้ทัน ทำให้ตัว Stabilizer รวมถึงโหลดที่ต่อใช้งานกับ Stabilizer ก็อาจได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้ จึงจำเป็นที่จะต้องหาอุปกรณ์ Surge Protector ที่ป้องกันได้ทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น Transient และไฟกระโชกแบบช่วงยาว TOVs มาต่อไว้หน้า Stabilizer เพื่อเป็นการป้องกัน Stabilizer และโหลดไม่ให้ได้รับความเสียหายจากไฟกระโชก

  • 3. อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด / RCBO / ELCB ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด / RCBO / ELCB คือป้องกันไฟดูดไฟรั่ว ซึ่งจะตัดไฟกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินเท่านั้นทำให้ผู้ใช้งานไม่ได้รับอันตรายจากการโดนไฟฟ้าดูด ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่ในการป้องกันไฟกระโชก จึงทำให้โหลดที่ต่อใช้งานอยู่ยังคงได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้

  • 4. Circuit Breaker ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ Circuit Breaker ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าออกจากระบบไฟฟ้า ในกรณีไฟฟ้าลัดวงจร หรือ ใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัด  ซึ่งอุปกรณ์ Circuit Breaker นี้ทำงานโดยใช้หลักการของ Bi-metal ซึ่งเมื่อเกิดการลัดวงจรไฟฟ้า หรือใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัดจะเกิดความร้อนที่โลหะ Bi-metal ซึ่งโลหะ Bi-metal นี้จะโก่งตัวไม่เท่ากันเมื่อเกิดความร้อนและจะตัดวงจรออกจากระบบไฟฟ้า ซึ่งคุณลักษณะการทำงานของ Circuit Breaker เช่นนี้ ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ เพราะกระแสไฟกระโชก จะต้องไหลผ่าน Circuit Breaker เข้าไปในระบบไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว ตัว Circuit Breaker ถึงจะเริ่มเกิดความร้อนแล้วตัดวงจรไฟฟ้าออกจากระบบไฟฟ้า นั่นหมายความว่า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Loads) ได้พังเสียหายไปเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่ Circuit Breaker จะตัดวงจรออก

  • 5. Fuse ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ Fuse คือ ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าออกจากระบบไฟฟ้า ในกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด หรือ เกิดไฟฟ้าลัดวงจร เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน Fuse มากเกินไป Fuse จะร้อนแล้วขาด เพื่อตัดวงจรออกจากระบบไฟฟ้า  ป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Loads) พังเสียหายมากไปกว่านี้ หรือ ลุกไหม้ติดไฟได้ ซึ่งคุณลักษณะการทำงานของ Fuse เช่นนี้ ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ เพราะกระแสไฟกระโชก จะต้องไหลผ่าน Fuse เข้าไปในระบบไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว ตัว Fuse ถึงจะเริ่มเกิดความร้อนแล้วขาดออก นั่นหมายความว่า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Loads) ได้พังเสียหายไปเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่ Fuse จะขาดออก

อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ต้องใช้ Surge Protector ที่มีคุณสมบัติป้องกันทั้งไฟกระโชกช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ได้

 

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.stabil.co.th/surge-protector-hopad

เครื่องป้องกันไฟกระชาก

วิธีป้องกันไฟกระชาก

5 ความเสี่ยงจากไฟกระโชก หรือ ไฟกระชาก

5 ความเสี่ยงจากไฟกระโชก หรือ ไฟกระชาก

  1. ความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า

    ไฟกระโชกสามารถทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ทีวี คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ได้รับความเสียหายจากไฟกระโชก

  2. ระบบอินเตอร์เน็ตล่ม

    ไฟกระโชกสามารถทำลายอุปกรณ์ Computer Network อุปกรณ์เชื่อมต่อ Internet ทำให้การสื่อสารล้มเหลว

  3. การเกิดอัคคีภัย

    ไฟกระโชกที่รุนแรงอาจทำให้แผงวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดความร้อนสูงเกินไปจนอาจเกิดไฟไหม้ได้

  4. การลดอายุการใช้งานของอุปกรณ์

    ในบางกรณีไฟกระโชกอาจจะไม่ทำให้อุปกรณ์เสียหายทันที แต่อาจส่งผลให้วงจรภายในของอุปกรณ์เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ

  5. การสูญเสียข้อมูลสำคัญ

    สำหรับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดไดรฟ์หรือเซิร์ฟเวอร์ หากเกิดไฟกระโชก ข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในระบบอาจเสียหายได้

5 ข้อดี ของการติดตั้ง HoPAD ติดตั้งตัวเดียว ป้องกันทั้งบ้าน

hopad
HoPAD

5 ข้อดี  ของการติดตั้ง HoPAD ติดตั้งตัวเดียวป้องกันทั้งบ้าน

1) HoPAD ช่วยป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ surge ที่อาจเกิดจากฟ้าผ่า

( ไฟกระโชกช่วงสั้น ) ไฟติดๆ ดับๆ ( ไฟกระโชกช่วงยาว ) ซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้า ได้รับความเสียหายขัดข้อง

2) HoPAD (โฮมแพด) ยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้า

ช่วยลดความเสี่ยงที่อุปกรณ์ไฟฟ้าจะเสียหายก่อนเวลา ทำให้อุปกรณ์สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น

3) HoPAD (โฮมแพด) ป้องกันข้อมูลสูญหาย

สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์หรือเซิร์ฟเวอร์ ช่วยลดความเสี่ยงของข้อมูลสูญหาย เนื่องจากไฟกระโชกได้

4) HoPAD (โฮมแพด) ประหยัดค่าใช้จ่ายระยะยาว

แม้ว่าการติดตั้ง HoPAD อาจมีค่าใช้จ่ายในตอนแรก แต่การป้องกันอุปกรณ์จากความเสียหายจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้

5) HoPAD (โฮมแพด) ไม่ต้องกังวลเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

เนื่องจากอุปกรณ์ป้องกัน HoPAD เป็นการต่อขนานกับระบบ จึงไม่จำกัดจำนวนโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจึงได้รับการป้องกันทั้งหมด

ข่าวเศร้า ผู้รักษาประตูถูกฟ้าผ่ากลางสนามบอล ที่บ้านฉาง ระยอง

โดยเหตุเกิดเมื่อวันที่ 12 ต.ค. ที่ผ่านมา เวลา ประมาณ 12.00น. มูลนิธิพุทธธรรมสงเคราะห์บ้านฉาง ได้รับแจ้งจากวิทยุ ให้เข้ารับผู้ป่วยที่ถูกสายฟ้าผ่า ณ สนามฟุตบอลหน้าโรงพักบ้านฉาง จึงได้รีบเข้าช่วยเหลือ พบเป็นชายผู้รักษาประตู นอนหงายคาสนาม ไร้ชีพจร จึงได้ช่วยให้การปั๊มหัวใจจนชีพจรกลับคืนมา และได้นำตัวส่งโรงพยาบาลบ้านฉาง ทีมแพทย์ได้ช่วยกันปฐมพยาบาลจนมีอาการรู้สึกตัวแต่ชีพจรยังคงต่ำ จึงได้นำตัวส่งต่อโรงพยาบาลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มาบตาพุด แพทย์ได้เฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด จนในเวลาต่อมาผู้บาดเจ็บได้เสียชีวิตลง

ทราบชื่อ คือ นายกิติศักดิ์ ฟูฟุ้ง หรืออาร์ท อายุ 35 ปี เป็นผู้รักษาประตูที่เข้าสู่วงการฟุตบอล อนาคตกำลังไปได้ดี เป็นมือหนึ่งของการเป็นผู้รักษาประตูเดินสายเล่นบอล ก่อนเกิดเหตุได้ลงเล่นที่สนามฟุตบอลบ้านฉาง โดยการจัดของ สภ.บ้านฉาง ซึ่งจัดเป็นครั้งแรก ดาวพิทักษ์ โอเพ่นคัพ ชิงเงินรางวัล 50,000บาท การแข่งขันถูกจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 12-14 ต.ค. ทำให้การแข่งขันเป็นอันต้องยุติ ส่วนสาเหตุของฟ้าผ่าลงมาบริเวณสนามยังไม่ทราบสาเหตุ ว่าเกิดจากสายฟ้าหรือมีเหตุอย่างอื่นด้วยหรือไม่

นายเจษฎากร กู้ภัยพุทธธรรมบ้านฉาง ที่ได้รับแจ้ง เปิดเผยว่า หลังรับแจ้งก็เดินทางมาช่วยเหลือ พบว่าผู้บาดเจ็บไม่มีชีพจรจึงส่งต่อยัง รพ.สมเด็จพระเทพฯ แล้วเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ขณะชมการแข่งขันระบุว่า ระหว่างที่แข่งอยู่นั้น ฝนตกลงมาอย่างหนักแต่เหลือเวลาอีกไม่กี่นาทีก็จะหมดเวลา จู่ๆ เกิดมีฟ้าผ่าลงมาเป็นสายที่บริเวณตึกริมถนนสุขุมวิทหลังโกล์ ทำให้นายกิตติศักดิ์ที่ยืนใกล้ที่สุดล้มลงไปนอนกับพื้น มีอาการเกร็งที่มือและเท้า หมดสติ ทุกคนตกตะลึงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก่อนที่จะถูกส่งตัวไป รพ. สุดท้ายต้องมาจบชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนศพญาติได้กำหนดรดน้ำที่วัดโพธิ์ทองพุทธาราม ต.ทางเกวียน อ.แกลง ระยอง บ้านเกิดของผู้เสียชีวิต

ขอขอบคุณข่าวจาก https://www.thaich8.com/news_detail/138439

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก สำหรับ Load Cell

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า
ไฟกระโชก ไฟกระชาก สำหรับ Load Cell

loadcell

Load Cell ( โหลดเซลล์ ) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดค่าแรงทางกล หลักการทำงานคือเมื่อมีแรงกระทำต่อ Load Cell แรงทางกลจะเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยสัญญาณจะถูกนำมาประมวลผลและส่งไปยังหน้าจอ

ในภาคอุตสาหกรรม Load Cell ได้กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในกระบวนการที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น การวัดน้ำหนักของสินค้า, การควบคุมปริมาณสารเคมีในการผลิต เป็นต้น แต่อุปกรณ์เหล่านี้ค่อนข้างเปราะบางและเสียหายได้ง่ายจากความไม่เสถียรหรือความผิดปกติของระบบไฟฟ้าเมื่อมีฟ้าผ่าหรือการลัดวงจรของระบบส่งกำลังไฟฟ้า หรือการปิด-เปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ส่งผลให้มีแรงดันเกินเข้ามาในระบบไฟฟ้า ทั้งในรูป ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุม เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจสร้างความเสียหายทางตรงให้กับอุปกรณ์ Load Cell ซึ่งทำให้ต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซมและจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ทดแทน นอกจากนี้ยังมีความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม เช่น Load Cell เกิดการเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ ความเสียหายทางธุรกิจที่มี่มูลค่าความเสียหายมากมาย สุดที่จะประเมินค่าได้

ตามมาตรฐาน IEEE และ IEC ไฟกระโชกหรือไฟกระชาก ที่เกิดในสภาพเป็นจริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) สาเหตุเกิดมาจาก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า และไฟกระโชกแบบช่วงยาว Temporary Over Voltages ( TOVs ) สาเหตุเกิดจากหลายอย่าง เช่น ไฟฟ้าติดๆดับๆ, อุบัติเหตุทางสายส่งไฟฟ้า, การปิด-เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) นี้ เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยอาจมีค่าสูงมากกว่า 1000 โวลท์ขึ้นไปแต่มีระยะเวลาในการเกิดที่สั้นมากๆ เช่น เศษ 1 ส่วน ล้านของวินาที เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยค่าการเกิดไฟเกินนั้นอาจมีค่าต่ำกว่า 1000 โวลท์ แต่มีระยะเวลาในการเกิดยาวนานกว่าเช่น จาก 1 ส่วนพันของวินาที จนถึงหลายวินาทีเป็นต้น ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้แม้ค่า Voltages จะต่ำกว่าการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) ก็ตาม แต่เนื่องจากระยะเวลาการเกิดที่ยาวนานกว่ามาก จึงมีพลังงานมากพอที่จะทำให้อุปกรณ์ฯ เสียหายได้
ด้วยปัญหาต่างๆเหล่านี้ บริษัท สตาบิล จำกัด ได้คิดค้นนวัตกรรมที่ใช้ในการป้องกันฟ้าผ่าไฟกระโชกสำหรับอุปกรณ์ Load Cell ขึ้นมา

Surge Block เป็นนวัตกรรมของ บริษัท สตาบิล จำกัด เพื่อใช้ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด ( 230 VAC 50 HZ ) เช่น คอมพิวเตอร์, ปริ้นเตอร์, จอแสดงผล, INDICATOR ของ Load Cell เป็นต้น ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่า ไฟกระโชก, แรงดันไฟฟ้าเกินชั่วขณะ, แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดจากการเปิด–ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ หรือเกิดการลัดวงจรของระบบไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ด้วย STOV Technology ซึ่งมีคุณสมบัติที่ป้องกันทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว( TOVs ) ได้ในตัวเดียวกันโดยใช้ตัวป้องกันชนิด MOV ยี่ห้อ TDK ( เดิมยี่ห้อ SIEMENS ) คุณภาพสูง มาตรฐาน UL และ CSA
Surge Protector Load Cell เป็นนวัตกรรมของ บริษัท สตาบิล จำกัด ใช้ป้องกันไฟกระโชกได้ มี SSAP Technology ในการป้องกันแรงดันเกินและกระแสเกินได้ในตัวเดียวกัน และมีคุณสมบัติในการตัดวงจรที่รวดเร็วเพียง 1/1000 วินาที เท่านั้น มี Resettable Funtion ที่มีหน้าทีตัดวงจรเมื่อมีไฟกระโชกรุนแรงเข้ามาในระบบ และยังสามาถ Reset อุปกรณ์ให้กลับมาทำงานได้อีกครั้ง ที่สำคัญคือติดตั้งและบำรุงรักษาง่าย
ด้วยนวัตกรรมต่างเหล่านี้ของ บริษัท สตาบิล จำกัด จึงมั่นใจได้ว่า อุปกรณ์Load Cell จะได้รับการป้องกันอย่างปลอดภัย

Posted in faq

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก (Surge Protection) สำหรับระบบโซล่าเซลล์ Solar cell

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก (Surge Protection) สำหรับระบบโซล่าเซลล์ Solar cell

ในปัจจุบันระบบพลังงานทดแทนได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หนึ่งในเทคโนโลยีที่เป็นการปฏิวัติการผลิตพลังงานคือ ระบบโซล่าเซลล์ หรือ พลังงานแสงอาทิตย์ การใช้พลังงานจากดวงอาทิตย์ไม่เพียงแต่เป็นทางเลือกที่ยั่งยืน แต่ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการจัดการกับวิกฤตพลังงานที่เรากำลังเผชิญอยู่ ปัญหาหนึ่งที่สำคัญในระบบโซล่าเซลล์ เมื่อมีฟ้าผ่า หรือการลัดวงจรของระบบส่งกำลังไฟฟ้า หรือการปิด-เปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ส่งผลให้มีแรงดันเกินเข้ามาในระบบไฟฟ้า ทั้งในรูป ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุม เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจสร้างความเสียหายให้กับ แผงโซล่าเซลล์ อินเวอร์เตอร์ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่สำคัญ  ซึ่งทำให้ต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซมและจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ทดแทน

ตามมาตรฐาน IEEE และ IEC ไฟกระโชกหรือไฟกระชาก ที่เกิดในสภาพเป็นจริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) สาเหตุเกิดมาจาก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า และไฟกระโชกแบบช่วงยาว Temporary Over Voltages ( TOVs ) สาเหตุเกิดจากหลายอย่าง เช่น ไฟฟ้าติดๆดับๆ, อุบัติเหตุทางสายส่งไฟฟ้า, การปิด-เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) นี้ เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยอาจมีค่าสูงมากกว่า 1000 โวลท์ขึ้นไปแต่มีระยะเวลาในการเกิดที่สั้นมากๆ เช่น เศษ 1 ส่วน ล้านของวินาที เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยค่าการเกิดไฟเกินนั้นอาจมีค่าต่ำกว่า 1000 โวลท์ แต่มีระยะเวลาในการเกิดยาวนานกว่าเช่น จาก 1 ส่วนพันของวินาที จนถึงหลายวินาทีเป็นต้น ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้แม้ค่า Voltages จะต่ำกว่าการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) ก็ตาม แต่เนื่องจากระยะเวลาการเกิดที่ยาวนานกว่ามาก จึงมีพลังงานมากพอที่จะทำให้อุปกรณ์ฯ เสียหายได้

SOLAR-ROOF

dc line surge protector

DC Line Surge Protector เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้ป้องกันความเสียหาย อันเนื่องมาจาก ฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก ( Surge ) ทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient )และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOV ) ซึ่งปนเข้ามา หรือเหนี่ยวนำเข้ามาทางสายไฟฟ้า DC โดยจะควบคุมแรงดันไฟกระโชกไม่ให้สูงเกินไปจนเป็นอันตราย โดยอุปกรณ์ป้องกันฯ จะดึงกระแสไฟกระโชกผ่านตัวอุปกรณ์ป้องกันฯ แล้วนำไปทิ้งลงดินผ่านทางแท่งกราวด์ ทำให้เกิดความปลอดภัยกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่ต่อใช้งาน รวมถึงเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานด้วย อุปกรณ์ป้องกันฯ นี้จะถูกติดตั้งในลักษณะต่อขนานกับระบบไฟฟ้า จึงสามารถทำการติดตั้งได้เลย ไม่ต้องคำนึงของกระแสใช้งานของ Load

ac line surge protector

AC Line Surge Protector เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้ป้องกันความเสียหาย อันเนื่องมาจาก ฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก ( Surge ) ทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient )และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOV ) ซึ่งปนเข้ามา หรือเหนี่ยวนำเข้ามาทางสายไฟฟ้า AC โดยจะควบคุมแรงดันไฟกระโชกไม่ให้สูงเกินไปจนเป็นอันตรายโดยอุปกรณ์ป้องกันฯ จะดึงกระแสไฟกระโชกผ่านตัวอุปกรณ์ป้องกันฯ แล้วนำไปทิ้งลงดินผ่านทางแท่งกราวด์ ทำให้เกิดความปลอดภัยกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ต่อใช้งานอยู่ รวมถึงเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน อุปกรณ์ป้องกันฯ นี้ไม่มีผลต่อการกินกระแสไฟฟ้าของโหลด เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ต่อขนานกับระบบไฟฟ้า ดังนั้นกรณีที่อุปกรณ์ป้องกันฯ ได้รับความเสียหาย จึงสามารถถอดซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ได้ โดยไม่มีผลกระทบใดๆ ทั้งสิ้นต่อโหลด กล่าวคือ โหลดต่าง ๆ ยังคงทำงานได้ตามปกติขณะตรวจซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ป้องกันฯ

ด้วยนวัตกรรมต่างเหล่านี้ของ บริษัท สตาบิล จำกัด จึงมั่นใจได้ว่า อุปกรณ์โซล่าเซลล์จะได้รับการป้องกันอย่างปลอดภัย

Posted in faq

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก สำหรับกล้องวงจรปิด

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า
ไฟกระโชก ไฟกระชาก สำหรับกล้องวงจรปิด

ไฟกระชากกล้อง

ในยุคที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว กล้องวงจรปิด ( CCTV : Closed Circuit Television System) ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในองค์กรต่างๆ ที่ใช้ในการเฝ้าระวังและบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่างๆ
และยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ที่อาศัยหรือทำงานในพื้นที่นั้นๆด้วย แต่อุปกรณ์เหล่านี้ค่อนข้างเปราะบางและเสียหายได้ง่ายจากความไม่เสถียรหรือความผิดปกติของระบบไฟฟ้า เมื่อมีฟ้าผ่า หรือการลัดวงจรของระบบส่งกำลังไฟฟ้า หรือการปิด-เปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ เกิดขึ้น ส่งผลให้มีแรงดันเกินเข้ามาในระบบไฟฟ้า ทั้งในรูป ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs )

ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุม เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจสร้างความเสียหายทางตรงให้กับอุปกรณ์กล้องวงจรปิด ซึ่งทำให้ต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซมและจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ทดแทน นอกจากนี้ยังมีความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม เช่น กล้องวงจรปิดไม่สามารถบันทึกเหตุการณ์สำคัญๆ ความเสียหายทางธุรกิจทีมี่มูลค่าความเสียหายมากมาย สุดที่จะประเมินค่าได้

ตามมาตรฐาน IEEE และ IEC ไฟกระโชกหรือไฟกระชาก ที่เกิดในสภาพเป็นจริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) สาเหตุเกิดมาจาก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า และไฟกระโชกแบบช่วงยาว Temporary Over Voltages ( TOVs ) สาเหตุเกิดจากหลายอย่าง เช่น ไฟฟ้าติดๆดับๆ, อุบัติเหตุทางสายส่งไฟฟ้า, การปิด-เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) นี้ เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยอาจมีค่าสูงมากกว่า 1000 โวลท์ขึ้นไปแต่มีระยะเวลาในการเกิดที่สั้นมากๆ เช่น เศษ 1 ส่วน ล้านของวินาที เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยค่าการเกิดไฟเกินนั้นอาจมีค่าต่ำกว่า 1000 โวลท์

แต่มีระยะเวลาในการเกิดยาวนานกว่าเช่น จาก 1 ส่วนพันของวินาที จนถึงหลายวินาทีเป็นต้น ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้แม้ค่า Voltages จะต่ำกว่าการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) ก็ตาม แต่เนื่องจากระยะเวลาการเกิดที่ยาวนานกว่ามาก จึงมีพลังงานมากพอที่จะทำให้อุปกรณ์ฯ เสียหายได้

 

SiPAD ไซแพด เสียบตรงไหน ป้องกันตรงนั้น

ด้วยปัญหาต่างๆเหล่านี้ บริษัท สตาบิล จำกัด ได้คิดค้นนวัตกรรมที่ใช้ในการป้องกันฟ้าผ่าไฟกระโชกสำหรับอุปกรณ์กล้องวงจรปิดข้นมาได้แก่
SiPAD ( ไซแพด ) เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้านวัตกรรมไทย จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ( NSTDA ) เพื่อใช้ป้องกัน อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เช่น คอมพิวเตอร์, WiFi, Router และ Modem เป็นต้น ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่า ไฟกระโชก, แรงดันไฟฟ้าเกินชั่วขณะ, แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดจากการเปิด–ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ หรือเกิดการลัดวงจรของระบบไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ด้วย STOV Technology ซึ่งมีคุณสมบัติที่ป้องกันทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ได้ในตัวเดียวกัน เพื่อความปลอดภัยสูงสุดที่มากกว่ามาตรฐาน

โดย SiPAD สามารถเสียบใช้งานบนเต้ารับไฟฟ้าได้ทันทีด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญในการติดตั้งแต่อย่างใด ทำให้สะดวก รวดเร็ว และประหยัด ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง

PDU ( ProAC Distribution Unit )

PDU ( ProAC Distribution Unit ) เป็นอุปกรณ์รางปลั๊กไฟ ที่ตัวโครงสร้างทำจากอลูมิเนียมโปรไฟล์ น้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม ออกแบบมาให้มีขนาดเล็กเพียง 1U เพื่อการติดตั้งใช้งานได้ง่ายในตู้ Rack 19” โดยมีจำนวนเต้ารับทั้งหมด 12 เต้ารับ ( เต้ารับเป็นแบบมีม่านนิรภัยตามมาตรฐาน มอก.166-2549 ) โดยแบ่งเป็นด้านหน้าจำนวน 2 เต้ารับ และด้านหลังจำนวน 10 เต้ารับ เพื่อความสะดวกในการต่อใช้งาน และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสายไฟของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ต่อใช้งานอยู่ภายในตู้ Rack 19” นอกจากนั้นยังมีตัวเลขแสดงค่าของแรงดันไฟฟ้า และผลรวมของกระแสไฟฟ้าใช้งานแบบ LCD และที่สำคัญที่สุดคือ มีอุปกรณ์เสริมในการป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก เสิร์จ ( ที่เข้ามาหรือเหนี่ยวนำเข้ามาในระบบไฟฟ้า 230 volt 50 Hz ในตู้ Rack 19” ) เพิ่มให้อีกด้วย โดยใช้ตัวป้องกันชนิด MOV ยี่ห้อ TDK ( เดิมยี่ห้อ SIEMENS ) คุณภาพสูง มาตรฐาน UL และ CSA รวมถึงมีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการลัดวงจร และกระแสไฟฟ้าเกินอัตโนมัติแบบ 2 Poles
( Rocker Switch Circuit Breaker ) มีคุณสมบัติตามมาตรฐาน IEC 60934 : 2000 ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่ต่อใช้งานอยู่ในตู้ Rack 19” ไม่ได้รับความเสียหาย และผู้ปฏิบัติงานได้รับความปลอดภัยสูงสุด

Data Line Surge Protector

อุปกรณ์ Data Line Surge Protector เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกทางคู่สายสัญญาณ ใช้ป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์ต่างๆ ( Load ) ที่ต่อใช้งานกับคู่สายสัญญาณเหล่านั้น เช่น ระบบ LAN / Ethernet Network, CCTV, Network Camera โดยมีคุณสมบัติที่สามารถป้องกันไฟกระโชกที่เหนี่ยวนำเข้ามาทางคู่สายสัญญาณในรูปของแรงดันไฟฟ้าเกิน ( Over Voltage ) ติดตั้งใช้งานง่าย ไม่ต้องบำรุงรักษา

ข้อดีของการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากสำหรับกล้องวงจรปิด

1.ป้องกันไฟกระโชกที่เข้ามาในระบบ
2.ยืดอายุการใช้งานกล้องวงจรปิด
3.ป้องกันข้อมูลกล้องวงจรปิดเสียหรือสูญหาย

การเลือกซื้ออุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกควรพิจารณาจาก


1.ค่าแรงดันไฟฟ้าที่อุปกรณ์รองรับ
2.ความสามารถในการป้องกันไฟฟ้ากระโชกในระดับต่างๆ
3.การติดตั้งง่ายและเข้ากับระบบที่มีอยู่

ด้วยนวัตกรรมต่างเหล่านี้ของ บริษัท สตาบิล จำกัด จึงมั่นใจได้ว่า อุปกรณ์กล้องวงจรปิดจะได้รับการป้องกันอย่างปลอดภัย

Posted in faq

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก SiPAD ที่บ้าน

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก SiPAD ที่บ้าน

ตัวกันไฟกระชาก sipad

ในปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆภายในบ้านที่ใช้กันอยู่นั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการใช้ชีวิต เทคโนโลยีต่างๆได้ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีความสามารถในการทำงานได้เร็วมากขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่อุปกรณ์เหล่านี้ค่อนข้างเปราะบางและเสียหายได้ง่ายจากความไม่เสถียรหรือความผิดปกติของระบบไฟฟ้า

ปัญหาหนึ่งในบ้านพักที่อยู่อาศัย เมื่อมีฟ้าผ่า หรือการลัดวงจรของระบบส่งกำลังไฟฟ้า หรือการปิด-เปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ส่งผลให้มีแรงดันเกินเข้ามาในระบบไฟฟ้า ทั้งในรูป ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุม เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจสร้างความเสียหายทางตรงให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์  คอมพิวเตอร์  อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ  ซึ่งทำให้ต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซมและจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ทดแทน

ตามมาตรฐาน IEEE และ IEC ไฟกระโชกหรือไฟกระชาก ที่เกิดในสภาพเป็นจริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) สาเหตุเกิดมาจาก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า และไฟกระโชกแบบช่วงยาว Temporary Over Voltages ( TOVs ) สาเหตุเกิดจากหลายอย่าง เช่น ไฟฟ้าติดๆดับๆ, อุบัติเหตุทางสายส่งไฟฟ้า, การปิด-เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่เป็นต้น

ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) นี้ เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยอาจมีค่าสูงมากกว่า 1000 โวลท์ขึ้นไปแต่มีระยะเวลาในการเกิดที่สั้นมากๆ เช่น เศษ 1 ส่วน ล้านของวินาที เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยค่าการเกิดไฟเกินนั้นอาจมีค่าต่ำกว่า 1000 โวลท์ แต่มีระยะเวลาในการเกิดยาวนานกว่าเช่น จาก 1 ส่วนพันของวินาที จนถึงหลายวินาทีเป็นต้น ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้แม้ค่า Voltages จะต่ำกว่าการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) ก็ตาม แต่เนื่องจากระยะเวลาการเกิดที่ยาวนานกว่ามาก จึงมีพลังงานมากพอที่จะทำให้อุปกรณ์ฯ เสียหายได้

อุปกรณ์ SiPAD ( ไซแพด ) เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้านวัตกรรมไทย จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ( NSTDA ) เพื่อใช้ป้องกัน อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เช่น คอมพิวเตอร์,  WiFi, Router และ Modem เป็นต้น ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่า ไฟกระโชก, แรงดันไฟฟ้าเกินชั่วขณะ, แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดจากการเปิด–ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ หรือเกิดการลัดวงจรของระบบไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ด้วย STOV Technology  ซึ่งมีคุณสมบัติที่ป้องกันทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient )  และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ได้ในตัวเดียวกัน  เพื่อความปลอดภัยสูงสุดที่มากกว่ามาตรฐาน โดย SiPAD สามารถเสียบใช้งานบนเต้ารับไฟฟ้าได้ทันทีด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญในการติดตั้งแต่อย่างใด ทำให้สะดวก รวดเร็ว และประหยัด  ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง

 SiPAD ( ไซแพด ) ยังเป็นอุปกรณ์ ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ที่นอกจากจะใช้งานง่ายพกพาสะดวก

เพียงแค่เสียบกับเต้ารับไฟฟ้าได้ทันทีแล้ว ยังไม่ต้องการการบำรุงรักษาใดๆ ทั้งสิ้น ทำให้ประหยัดงบประมาณในการบำรุงรักษาและยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป กรณีที่ได้รับไฟกระโชก ไม่เกินขนาดที่อุปกรณ์ป้องกันระบุไว้ จึงมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ SiPAD ( ไซแพด ) เสียบตรงไหนปลอดภัยตรงนั้น

สนใจสั่งซื้อสินค้า Click

วิธีป้องกันไฟกระชาก

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก HoPAD ที่บ้าน

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก HoPAD ที่บ้าน

วิธีป้องกันไฟกระชาก

ในปัจจุบันปัญหาหนึ่งในบ้านพักที่อยู่อาศัย เมื่อมีฟ้าผ่า หรือการลัดวงจรของระบบส่งกำลังไฟฟ้า หรือการปิด-เปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ส่งผลให้มีแรงดันเกินเข้ามาในระบบไฟฟ้า ทั้งในรูป ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) เกิดขั้น ลำพัง Circuit Breaker, อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด / RCBO / ELCB , UPS ฯลฯ ไม่สามารถป้องกันได้ตามที่ควร ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้านได้รับความเสียหาย

ตามมาตรฐาน IEEE และ IEC ไฟกระโชกหรือไฟกระชาก ที่เกิดในสภาพเป็นจริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) สาเหตุเกิดมาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า และไฟกระโชกแบบช่วงยาว Temporary Over Voltages ( TOVs ) สาเหตุเกิดจากหลายอย่าง เช่น ไฟฟ้าติดๆดับๆ, อุบัติเหตุทางสายส่งไฟฟ้า, การปิด-เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่เป็นต้น

ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) นี้ เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยอาจมีค่าสูงมากกว่า 1000 โวลท์ขึ้นไปแต่มีระยะเวลาในการเกิดที่สั้นมากๆ เช่น เศษ 1 ส่วน ล้านของวินาที เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยค่าการเกิดไฟเกินนั้นอาจมีค่าต่ำกว่า 1000 โวลท์ แต่มีระยะเวลาในการเกิดยาวนานกว่าเช่น จาก 1 ส่วนพันของวินาที จนถึงหลายวินาทีเป็นต้น ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้แม้ค่า Voltages จะต่ำกว่าการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) ก็ตาม แต่เนื่องจากระยะเวลาการเกิดที่ยาวนานกว่ามาก จึงมีพลังงานมากพอที่จะทำให้อุปกรณ์ฯ เสียหายได้

ด้วยนวัตกรรมของ บริษัท สตาบิล จำกัด ได้คิดค้นอุปกรณ์โฮมแพด ( HoPAD )ที่สามารถป้องกันปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ได้ จึงมั่นใจได้ว่า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านจะได้รับการป้องกันอย่างปลอดภัย

อุปกรณ์โฮมแพด ( HoPAD ) เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ( Surge Protector ) ทางสายไฟฟ้าที่ได้ถูกออกแบบ ผลิต และทดสอบตามรูปคลื่นมาตรฐาน ANSI / IEEE C62.41.-2002 และ IEC 61643-11-2011 มีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นสะพานไฟ ( Fuse ) ทำหน้าที่ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร รวมถึงเพื่อทำการตัด-ต่อ และส่วนป้องกันเสิร์จ ( Surge Protector ) ป้องกันได้ทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) โดยโครงสร้างภายนอกทำจาก Aluminium Profile ทำให้มีความปลอดภัย และมีความคงทนสูง ไม่ติดไฟ มีไฟแสดงสถานะ Power และ Fault ส่วนภายในมีอุปกรณ์สำคัญที่ทำหน้าที่ในการรับไฟกระโชกได้เป็นอย่างดี  ป้องกันได้ครบทุกโหมด ( All modes protection ) L-N ,L-G, N-G และกินไฟน้อยกว่า 0.005 A

จึงมั่นใจได้ว่า  อุปกรณ์โฮมแพด  ( HoPAD ) เป็นอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก เสิร์จ ( Surge ) ติดตั้งตัวเดียวป้องกันทั้งบ้านได้

สนใจสั่งซื้อสินค้า click

เครื่องป้องกันไฟกระชาก