5ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่คิดว่าป้องกันไฟกระโชกได้

 

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่คิดว่าป้องกันไฟกระโชกได้

 

  • 1. UPS ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ UPS คือสำรองไฟฟ้าเวลาไฟดับ และตัว UPS เองเปรียบเสมือนเป็นโหลดตัวหนึ่ง ซึ่งอาจได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้ รวมถึงโหลดที่ต่อใช้งานกับ UPS ก็อาจได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้ด้วยเช่นเดียวกัน

ซึ่ง UPS บางรุ่น ระบุว่า Built-in Surge Protector  เพื่อป้องกันไฟกระโชกแล้ว แต่ก็เป็นเพียงการเพิ่มอุปกรณ์ MOV ตัวเล็กๆ ในวงจร เพื่อใช้ในการป้องกันไฟกระโชกแบบช่วงสั้น Transient ในเบื้องต้นเท่านั้น จึงจำเป็นที่จะต้องหาอุปกรณ์ Surge Protector ที่ป้องกันได้ทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น Transient และไฟกระโชกแบบช่วงยาว TOVs มาต่อไว้หน้า UPS เพื่อเป็นการป้องกัน UPS ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากไฟกระโชก

  • 2. Stabilizer ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ Stabilizer คือปรับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่ กรณีเกิด Over voltage หรือ Under voltage แต่ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ เนื่องจากไฟกระโชกเกิดขึ้นรวดเร็วมาก (มีความเร็วเศษหนึ่งส่วนล้านของวินาที) ซึ่งอุปกรณ์ Stabilizer ไม่สามารถตอบสนองได้ทัน ทำให้ตัว Stabilizer รวมถึงโหลดที่ต่อใช้งานกับ Stabilizer ก็อาจได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้ จึงจำเป็นที่จะต้องหาอุปกรณ์ Surge Protector ที่ป้องกันได้ทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น Transient และไฟกระโชกแบบช่วงยาว TOVs มาต่อไว้หน้า Stabilizer เพื่อเป็นการป้องกัน Stabilizer และโหลดไม่ให้ได้รับความเสียหายจากไฟกระโชก

  • 3. อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด / RCBO / ELCB ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด / RCBO / ELCB คือป้องกันไฟดูดไฟรั่ว ซึ่งจะตัดไฟกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินเท่านั้นทำให้ผู้ใช้งานไม่ได้รับอันตรายจากการโดนไฟฟ้าดูด ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่ในการป้องกันไฟกระโชก จึงทำให้โหลดที่ต่อใช้งานอยู่ยังคงได้รับความเสียหายจากไฟกระโชกได้

  • 4. Circuit Breaker ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ Circuit Breaker ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าออกจากระบบไฟฟ้า ในกรณีไฟฟ้าลัดวงจร หรือ ใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัด  ซึ่งอุปกรณ์ Circuit Breaker นี้ทำงานโดยใช้หลักการของ Bi-metal ซึ่งเมื่อเกิดการลัดวงจรไฟฟ้า หรือใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัดจะเกิดความร้อนที่โลหะ Bi-metal ซึ่งโลหะ Bi-metal นี้จะโก่งตัวไม่เท่ากันเมื่อเกิดความร้อนและจะตัดวงจรออกจากระบบไฟฟ้า ซึ่งคุณลักษณะการทำงานของ Circuit Breaker เช่นนี้ ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ เพราะกระแสไฟกระโชก จะต้องไหลผ่าน Circuit Breaker เข้าไปในระบบไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว ตัว Circuit Breaker ถึงจะเริ่มเกิดความร้อนแล้วตัดวงจรไฟฟ้าออกจากระบบไฟฟ้า นั่นหมายความว่า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Loads) ได้พังเสียหายไปเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่ Circuit Breaker จะตัดวงจรออก

  • 5. Fuse ป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

หน้าที่หลักของ Fuse คือ ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าออกจากระบบไฟฟ้า ในกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด หรือ เกิดไฟฟ้าลัดวงจร เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน Fuse มากเกินไป Fuse จะร้อนแล้วขาด เพื่อตัดวงจรออกจากระบบไฟฟ้า  ป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Loads) พังเสียหายมากไปกว่านี้ หรือ ลุกไหม้ติดไฟได้ ซึ่งคุณลักษณะการทำงานของ Fuse เช่นนี้ ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ เพราะกระแสไฟกระโชก จะต้องไหลผ่าน Fuse เข้าไปในระบบไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว ตัว Fuse ถึงจะเริ่มเกิดความร้อนแล้วขาดออก นั่นหมายความว่า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Loads) ได้พังเสียหายไปเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่ Fuse จะขาดออก

อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ต้องใช้ Surge Protector ที่มีคุณสมบัติป้องกันทั้งไฟกระโชกช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ได้

 

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.stabil.co.th/surge-protector-hopad

เครื่องป้องกันไฟกระชาก

วิธีป้องกันไฟกระชาก