Surge Protector ในรางปลั๊กไฟที่ขายทั่วไปป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

Surge Protector ในรางปลั๊กไฟที่ขายทั่วไปป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

คำตอบ : อุปกรณ์ Surge Protector ที่ติดตั้งในปลั๊กรางป้องกันไฟกระโชกทั่วไป สามารถใช้ป้องกันไฟกระโชกแบบพื้นฐานได้ คือเป็นไฟกระโชกแบบช่วงสั้นหรือที่เรียกว่า Transient แต่ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกแบบช่วงยาว หรือที่เรียกว่า TOVs (Temporary Over Voltages) ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว คือการเกิดไฟกระโชกที่มีระยะเวลาการเกิดนานจาก mSec ถึง a few seconds ซึ่งอุปกรณ์ Surge Protector แบบทั่วไปไม่สามารถที่จะรองรับการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาวนี้ได้ และไฟกระโชกแบบช่วงยาวนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เปราะบางเสียหายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยสูงสุด ท่านจึงควรเลือกใช้แต่อุปกรณ์ Surge Protector ที่มีคุณสมบัติสามารถป้องกันไฟกระโชกทั้งแบบช่วงสั้น Transient และไฟกระโชกแบบช่วงยาว TOVs ได้ในตัวเดียวกัน

Posted in faq

คุณสมบัติที่สำคัญของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกที่จะพิจารณาในการเลือกซื้อมีอะไรบ้าง ?

คุณสมบัติที่สำคัญของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกที่จะพิจารณาในการเลือกซื้อมีอะไรบ้าง ?

คำตอบ : คุณสมบัติที่สำคัญของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกที่จะใช้ในการพิจารณาเลือกซื้อ มีดังนี้
1. ต้องมีความสามารถในการรับไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และแบบช่วงยาว ( TOVs ) ได้
2. ความไวในการทำงานของตัวอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ( Response Time ) จะต้องมีค่าน้อยกว่า 25 nSec.
3. จุดเริ่มทำงานของตัวอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ( Clamping Voltage ) ควรอยู่ในระดับแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสม เช่น อยู่ระหว่าง 256 และ 315 Volt, 50 Hz
4. ค่าแรงดันไฟฟ้าที่ปรากฏที่โหลด ( Let Through Voltage ) ขณะที่อุปกรณ์ป้องกันกำลังรับไฟกระโชกอยู่ จะต้องมีค่าน้อยกว่า 1kv( Test at Transient 6KV / 3KA ) และ / หรือ มีค่าน้อยกว่า 285 VAC ( Test at TOVs 300 -600 VAC, 50 Hz / 10 – 20 A )

Posted in faq

เป็นที่ถกเถียงกันมานานเกี่ยวกับหัวล่อฟ้าแบบ Franklin Rod กับ Early Streamer Emission

เป็นที่ถกเถียงกันมานานเกี่ยวกับหัวล่อฟ้าแบบ Franklin Rod กับ Early Streamer Emission

คำถาม :จากประสบการณ์ในการขายอุปกรณ์ป้องกัน surge และฟ้าผ่าของบริษัท สตาบิล จำกัด คุณคิดว่าหัวล่อฟ้าแบบ Early Streamer Emission ESE สามารถทำงานได้ตามคำโฆษณาหรือไม่ เพราะราคาแต่งต่างกันหลายร้อยเท่า…คิดว่าผู้ซื้อควรเลือกระบบป้องกันแบบไหนจึงคุ้มกว่ากัน

คำตอบ : เท่าที่ทราบหัวล่อฟ้าแบบ Early Streamer Emission เป็นแบบที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้คิดค้นออกแบบ ซึ่งทางด้านวิชาการยังไม่เป็นที่ยอมรับในสากล โดยหลักการพื้นฐานแล้ว หัวล่อฟ้าต้องมีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี และต้องคงทนต่อการถูกกัดกร่อนจากสภาพแวดล้อม เท่านี้ก็มากเกินพอแล้ว
ซึ่งบริษัทฯ มีความเห็นว่า ควรเลือกใช้แบบ Franklin Rod แล้วนำเงินส่วนต่างระหว่างหัวล่อฟ้าแบบ Franklin Rod กับ Early Streamer Emission มาใช้ในส่วนของการทำระบบกราวด์ที่ดี ๆ น่าจะคุ้มค่า

Posted in faq

UPS สามารถป้องกันไฟกระโชก ได้หรือไม่ ?

UPS สามารถป้องกันไฟกระโชก ได้หรือไม่ ?

คำตอบ : หน้าที่หลักของ UPS คือสำรองไฟฟ้าให้กับระบบ กล่าวคือเมื่อไฟฟ้าดับ UPS จะทำหน้าที่จ่ายไฟฟ้าทันทีทันใดอย่างต่อเนื่องให้กับอุปกรณ์ใช้งานต่าง ๆ ( Load ) ที่ต่ออยู่ด้านหลังของ UPS เสมือนหนึ่งว่าไม่มีเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเกิดขึ้น และเนื่องจากการติดตั้ง UPS เป็นการติดตั้งแบบอนุกรมกับระบบไฟฟ้า โดยมีอุปกรณ์ใช้งานต่าง ๆ ( Load ) ต่ออยู่ด้านหลังของ UPS ดังนั้น เมื่อมีไฟกระโชกเข้ามาในระบบ ลำดับแรก ( ด่านแรก ) ที่จะถูกทำลายก่อนคือ UPS ลำดับต่อมาที่จะถูกทำลายคืออุปกรณ์ใช้งานต่าง ๆ ( Load ) ที่ต่ออยู่หลัง UPS จึงเป็นเหตุให้ผู้ใช้งานเข้าใจว่า UPS สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ ซึ่งไม่ถูกต้อง เช่น ในกรณีเกิดไฟกระโชกอย่างรุนแรงมาก ๆ หลังจากที่ UPS เสียหายแล้ว ความรุนแรงของไฟกระโชกอาจยังมีมากพอที่จะหลุดเข้ามาทำลายอุปกรณ์ใช้งานต่าง ๆ ( Load ) ที่ต่ออยู่ด้านหลังของ UPS ได้
หมายเหตุ : อุปกรณ์ Stabilizer , Voltage regulator, Line Conditioner ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ โดยมีหลักการทำงานเช่นเดียวกับ UPS ดังกล่าวข้างต้น

Posted in faq

การเลือกซื้อขนาดของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ควรเลือกอย่างไร ?

การเลือกซื้อขนาดของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ควรเลือกอย่างไร ?

คำตอบ : เป็นคำถามที่ตอบยาก เพราะไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดไฟกระโชกเมื่อใด ? และมีขนาดเท่าไร ? แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อขนาดของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก มีดังนี้คือ

1. สถานที่ที่อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกจะถูกนำมาติดตั้ง ว่าเป็นพื้นที่ล่อแหลมมากน้อยแค่ไหน เช่น อยู่บนเขาหรืออยู่บนพื้นที่โล่ง ก็ควรที่จะเลือกอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกขนาด 100KA at 8/20 µSec. แต่ถ้าอยู่ในพื้นที่ไม่ล่อแหลม ก็เลือกขนาด 40KA at 8/20 µSec. เป็นต้น

2. มูลค่าของอุปกรณ์โหลดต่าง ๆ ที่จะต้องป้องกัน รวมถึงมูลค่าทางอ้อม เช่น down time ด้วย ซึ่งเมื่อเกิดความเสียหายกับอุปกรณ์โหลดต่าง ๆ แล้ว ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายหรือขาดรายรับเป็นจำนวนมาก ก็ต้องซื้ออุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกที่มีคุณภาพสูง สามารถป้องกันไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ได้ด้วย เช่น Transient 100KA at 8/20 µSec. และ TOVs 10A 3 Sec. เป็นต้น

Posted in faq

การทำระบบป้องกันฟ้าผ่าและระบบสายดินที่ได้มาตรฐาน ควรทำอย่างไร

การทำระบบป้องกันฟ้าผ่าและระบบสายดินที่ได้มาตรฐาน ควรทำอย่างไร?

คำถาม : พอดีต้องการทำระบบป้องกันฟ้าผ่าและระบบสายดิน ที่เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับระบบกราวด์ของทั่วโลก จากที่อ่านข้อมูลจาก websites ต่างประเทศ และข้อมูลจากหลายๆ บริษัท จะต่อกราวด์ของทุกระบบเข้าที่ Building Ground ที่เดียว โดยเน้นว่าต้องเป็นกราวด์จุดเดียว Common Grounding Electrode for All System Grounding in or at a Building, it’s a must. ไม่ว่าจะเป็น กราวด์ของระบบแอร์ ระบบโทรศัพท์ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบ UPS etc… โดยให้เหตุผลว่า

1. ถ้ามี Ground หลายอัน จะเกิดกราวด์ลูป, กราวด์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงกราวด์ของระบบฟ้าผ่า ควรรวมเป็นจุดเดียวกัน ที่ Building Ground เป็น Common Ground. – การ jump กราวด์ เข้ากับ neutral มากกว่า 1 จุด ก็จะทำให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกัน
2. ถ้ามีฟ้าผ่า แล้วมี ground หลายจุด จะเกิดความต่างศักย์ระหว่าง Ground Rod ทำให้เกิดอันตรายมากๆ จึงกำหนดว่าต้องต่อร่วมกัน Must be connected to the same Earth/Ground electrode system. If separated, there will be gradient between two grounding systems which could lead to flashover or even electric shock.
แต่ บจก.สตาบิล นั้น กราวด์ฟ้าผ่าและกราวด์ของระบบไฟฟ้าแยกจากกัน จะกลับกันกับ 2 ข้อข้างบน ไม่ทราบมีเหตุผลมาหักล้างสองข้อข้างบนอย่างไร

คำตอบ :

1. ระบบกราวด์แบบกราวด์ลึก ซึ่งมีความลึกตั้งแต่ 12 เมตรขึ้นไป ที่บริษัท สตาบิล จำกัด ได้นำเสนอนั้น ได้ระบุให้มีการแยกแท่งกราวด์ระบบ ( SG ) ออกจากแท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( LG ) อย่างชัดเจน แต่จริงๆ แล้วเมื่อมองให้ลึกเข้าไปถึงการเชื่อมต่อกันทางวงจรไฟฟ้า การทำกราวด์แบบกราวด์ลึกจะมีการเชื่อมต่อกันทางไฟฟ้าเช่นเดียวกับการทำกราวด์แบบมาตรฐานทั่วไป ที่ใช้หลักการของการทำให้เกิด Equip Potential หรือ Same Potential เพื่อไม่ให้เกิดความต่างศักย์ขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่งของระบบกราวด์ไฟฟ้าในขณะที่เกิดฟ้าผ่า หรือไฟกระโชก จึงทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออยู่ในระบบนั้นได้รับความปลอดภัย เพียงแต่การทำกราวด์แบบ บจก. สตาบิล นั้น จะไม่มีการทำ Equip Potential ของแท่งกราวด์ระบบ ( SG ) กับแท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( LG ) ที่ระดับผิวดิน แต่จะไปทำการ Equip Potential ที่ Common Earth หรือจุดศูนย์ร่วมของดินแทน

2. การทำให้เกิด Equip Potential คือการนำจุดเชื่อมต่อกราวด์ต่างๆ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเสมือนให้เป็นจุดๆเดียว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิดความต่างศักย์กันทางไฟฟ้าเมื่อมีกระแสฟ้าผ่า หรือกระแสไฟกระโชกขึ้นในระบบฯ ดังนั้นการทำกราวด์แบบมาตรฐานทั่วไปจึงระบุให้ต้องทำการเชื่อมต่อระบบกราวด์ทั้งหมดเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น กราวด์ฟ้าผ่า กราวด์ระบบ กราวด์ไฟฟ้าสื่อสาร หรืออื่นๆ และให้เชื่อมต่อเข้ากันกับแท่งกราวด์และโครงสร้างอาคาร ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดการ Equip Potential หรือ Same Potential นั่นเอง

3. การทำกราวด์แบบ บจก.สตาบิล นั้น เป็นการทำกราวด์แบบกราวด์ลึกซึ่งจะกำหนดค่าความต้านทานดินของแท่งกราวด์แบบแท่งกราวด์เดี่ยว ให้มีค่าเข้าใกล้ 0 โอห์มมากที่สุด ดังนั้นค่า คตท ดินของแท่งกราวด์ที่วัดได้จึงเป็นค่า คตท ดินของแท่งกราวด์เดี่ยวเทียบกับ Common Earth ดังนั้นจึงเปรียบเสมือนว่า แท่งกราวด์ระบบ ( SG ) กับแท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( LG ) นั้นได้ถูกเชื่อมต่อกันทางไฟฟ้า และเกิดการ Equip Potential ณ ที่จุด Common Earth นี้เอง
จากประสบการณ์การที่บริษัท สตาบิล จำกัด ได้จากติดตั้งและปรับปรุงระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าและระบบสายดินมามากกว่า 26 ปีที่ผ่านมาพบว่า การทำกราวด์แบบมาตรฐานทั่วไปนั้น แม้ว่าค่า คตท ดินรวมของแท่งกราวด์จะต่ำและมีการทำ Equip Potential ของระบบกราวด์ที่ระดับผิวดินแล้วก็ตาม แต่ระบบฯ ก็ยังคงได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่าและไฟกระโชกอยู่เป็นจำนวนมาก บริษัทฯ จึงได้ทำการปรับปรุงโดยการติดตั้งระบบกราวด์แบบกราวด์ลึกเป็นการทดแทน และพบว่าระบบไฟฟ้าที่เคยเกิดปัญหานั้น มีเสถียรภาพการทำงานที่ดีขึ้นและไม่ได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่าและไฟกระโชกที่เคยเกิดขึ้นอีกเลย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายจากฟ้าผ่าและไฟกระโชกที่อาจเกิดขึ้นกับท่าน การทำกราวด์แบบกราวด์ลึกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการทำกราวด์ที่น่าสนใจและให้ผลคุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นอย่างมาก

Posted in faq

Surge Protector ในรางปลั๊กไฟมาใช้กับระบบไฟฟ้าในอาคารที่ไม่มีกราวด์จะทำหน้าที่ป้องกันได้หรือไม่?

ถ้านำ Surge Protector ในรางปลั๊กไฟที่ขายทั่วไป มาใช้กับระบบไฟฟ้าในอาคารที่ไม่มีกราวด์ (ปลั๊กไฟแบบเก่าที่มี 2 รู) เวลาเกิดไฟกระโชก ตัวอุปกรณ์ Surge Protector จะทำหน้าที่ป้องกันได้หรือไม่?

คำตอบ : เนื่องจากระบบไฟฟ้าของประเทศไทยเป็นแบบ TN-C-S ซึ่งกำหนดให้มีการปักแท่งกราวด์ภายในบ้าน บริเวณตู้ MDB (ตู้เมนไฟ) และกำหนดให้ทำการเชื่อมต่อสายกราวด์กับสาย Neutral เข้าด้วยกัน (ที่ตู้ MDB เท่านั้น) จึงทำให้การนำปลั๊กรางป้องกันไฟกระโชกมาเสียบใช้งานกับปลั๊ก (ที่ผนังกำแพง) แบบ 2 รูที่ไม่มีกราวด์ หรือปลั๊กแบบ 3 รูที่มีกราวด์ ก็จะมีประสิทธิภาพในการทำงานเท่ากัน คือสามารถใช้งานในการป้องกันไฟกระโชกได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากเมื่อเกิดไฟกระโชกขึ้น อุปกรณ์ป้องกันจะทำการดึงไฟกระโชกที่เกิดขึ้นจากสาย Line ผ่านตัวอุปกรณ์ฯ ส่งกลับไปยังสาย Neutral เพื่อลงกราวด์ที่แท่งกราวด์ที่ตู้ MDB จึงทำให้การระบายกระแสไฟกระโชกที่เกิดขึ้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตามการระบายกระแสไฟกระโชกจะทำได้ดีและรวดเร็วเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของระบบสายดินที่ทำการติดตั้งนั้นๆ ด้วย กรณีที่บ้านพักอาศัยไม่มีการติดตั้งแท่งกราวด์ที่บริเวณตู้ MDB เมื่อเกิดไฟกระโชกขึ้น ปลั๊กรางป้องกันไฟกระโชกจะทำการดึงไฟกระโชกที่เกิดขึ้นจากสาย Line ผ่านตัวอุปกรณ์ฯ ส่งกลับไปยังสาย Neutral เพื่อไปลงกราวด์ที่แท่งกราวด์ของหม้อแปลงไฟฟ้า หรือที่จุด Multi Point Ground ของการไฟฟ้าบริเวณภายนอกอาคารที่อยู่ไกลออกไป ซึ่งการระบายกระแสไฟกระโชกจะทำได้ดีและรวดเร็วเพียงใดนั้น ก็ขึ้นกับระยะทางและประสิทธิภาพของแท่งกราวด์ของการไฟฟ้านั้นๆ ด้วย ดังนั้นโดยภาพรวมแล้วประสิทธิภาพของปลั๊กรางป้องกันไฟกระโชกเมื่อเสียบใช้งานร่วมกับปลั๊ก(ที่ผนังกำแพง) แบบ 2 รูที่ไม่มีกราวด์ หรือปลั๊กแบบ 3 รูที่มีกราวด์ ก็จะให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่ไม่แตกต่างกัน

กรณีที่ไม่มีการติดตั้งแท่งกราวด์ภายในบ้านบริเวณตู้ MDB จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ฯ ลดลงไปเหลือเพียง 70-80 % เนื่องจากกระแสไฟกระโชกจะถูกนำไปลงกราวด์ที่แท่งกราวด์ของการไฟฟ้าในบริเวณที่อยู่ไกลออกไปนั่นเอง หมายเหตุ การปักแท่งกราวด์ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายแบบและหลายวิธี แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเราขอแนะนำการทำกราวด์แบบแท่งกราวด์ลึก เพราะให้ประสิทธิภาพสูงสุดในสภาพภูมิประเทศแบบประเทศไทย ซึ่งขอสรุปง่ายๆ คือทำการเจาะฝังแท่งกราวด์ที่ความลึกอย่างน้อย 12 เมตรในเขตกรุงเทพฯ หรือที่ความลึกอย่างน้อย 24 เมตรในต่างจังหวัด โดยแท่

Posted in faq

ไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ Surge คืออะไร

ไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ Surge คืออะไร

คำตอบ : ไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ Surge คือ แรงดันไฟฟ้าสูง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน จากการเหนี่ยวนำของสภาวะ ต่าง ๆ เช่น ฟ้าผ่า การตัดต่อหรือการลัดวงจรในระบบสายส่งไฟฟ้ากำลัง การเปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ เป็นต้น โดยเหนี่ยวนำหรือปะปนเข้ามาในระบบไฟฟ้าที่ใช้งาน เช่น single phase 230 Volt 50 Hz. หรือ three phase four wire 380/220 Volt 50 Hz. รวมถึงเข้ามาทางคู่สายสัญญาณต่าง ๆ เช่น คู่สายโทรศัพท์ และ/หรือ คู่สายวงจรเช่า เป็นต้น ซึ่งมีผลทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ( Load ) ที่ต่อใช้งานอยู่ได้รับความเสียหายได้

โดยไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ Surge แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

1. ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) คือ สภาวะการเกิดแรงดันไฟฟ้าสูง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันใน ช่วงเวลาสั้น ๆ เช่น เศษหนึ่งส่วนล้านของวินาที เป็นต้น

2. ไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) คือ สภาวะการเกิดแรงดันไฟฟ้าสูง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในช่วง เวลานานไม่เกิน 3 วินาที ( Less than a few seconds )

vdo ไฟกระชากคืออะไร ไฟกระชากมีกี่แบบ

Posted in faq