ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก สำหรับ Load Cell

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า
ไฟกระโชก ไฟกระชาก สำหรับ Load Cell

loadcell

Load Cell ( โหลดเซลล์ ) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดค่าแรงทางกล หลักการทำงานคือเมื่อมีแรงกระทำต่อ Load Cell แรงทางกลจะเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยสัญญาณจะถูกนำมาประมวลผลและส่งไปยังหน้าจอ

ในภาคอุตสาหกรรม Load Cell ได้กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในกระบวนการที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น การวัดน้ำหนักของสินค้า, การควบคุมปริมาณสารเคมีในการผลิต เป็นต้น แต่อุปกรณ์เหล่านี้ค่อนข้างเปราะบางและเสียหายได้ง่ายจากความไม่เสถียรหรือความผิดปกติของระบบไฟฟ้าเมื่อมีฟ้าผ่าหรือการลัดวงจรของระบบส่งกำลังไฟฟ้า หรือการปิด-เปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ส่งผลให้มีแรงดันเกินเข้ามาในระบบไฟฟ้า ทั้งในรูป ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุม เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจสร้างความเสียหายทางตรงให้กับอุปกรณ์ Load Cell ซึ่งทำให้ต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซมและจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ทดแทน นอกจากนี้ยังมีความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม เช่น Load Cell เกิดการเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ ความเสียหายทางธุรกิจที่มี่มูลค่าความเสียหายมากมาย สุดที่จะประเมินค่าได้

ตามมาตรฐาน IEEE และ IEC ไฟกระโชกหรือไฟกระชาก ที่เกิดในสภาพเป็นจริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) สาเหตุเกิดมาจาก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า และไฟกระโชกแบบช่วงยาว Temporary Over Voltages ( TOVs ) สาเหตุเกิดจากหลายอย่าง เช่น ไฟฟ้าติดๆดับๆ, อุบัติเหตุทางสายส่งไฟฟ้า, การปิด-เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) นี้ เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยอาจมีค่าสูงมากกว่า 1000 โวลท์ขึ้นไปแต่มีระยะเวลาในการเกิดที่สั้นมากๆ เช่น เศษ 1 ส่วน ล้านของวินาที เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยค่าการเกิดไฟเกินนั้นอาจมีค่าต่ำกว่า 1000 โวลท์ แต่มีระยะเวลาในการเกิดยาวนานกว่าเช่น จาก 1 ส่วนพันของวินาที จนถึงหลายวินาทีเป็นต้น ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้แม้ค่า Voltages จะต่ำกว่าการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) ก็ตาม แต่เนื่องจากระยะเวลาการเกิดที่ยาวนานกว่ามาก จึงมีพลังงานมากพอที่จะทำให้อุปกรณ์ฯ เสียหายได้
ด้วยปัญหาต่างๆเหล่านี้ บริษัท สตาบิล จำกัด ได้คิดค้นนวัตกรรมที่ใช้ในการป้องกันฟ้าผ่าไฟกระโชกสำหรับอุปกรณ์ Load Cell ขึ้นมา

Surge Block เป็นนวัตกรรมของ บริษัท สตาบิล จำกัด เพื่อใช้ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด ( 230 VAC 50 HZ ) เช่น คอมพิวเตอร์, ปริ้นเตอร์, จอแสดงผล, INDICATOR ของ Load Cell เป็นต้น ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่า ไฟกระโชก, แรงดันไฟฟ้าเกินชั่วขณะ, แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดจากการเปิด–ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ หรือเกิดการลัดวงจรของระบบไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ด้วย STOV Technology ซึ่งมีคุณสมบัติที่ป้องกันทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว( TOVs ) ได้ในตัวเดียวกันโดยใช้ตัวป้องกันชนิด MOV ยี่ห้อ TDK ( เดิมยี่ห้อ SIEMENS ) คุณภาพสูง มาตรฐาน UL และ CSA
Surge Protector Load Cell เป็นนวัตกรรมของ บริษัท สตาบิล จำกัด ใช้ป้องกันไฟกระโชกได้ มี SSAP Technology ในการป้องกันแรงดันเกินและกระแสเกินได้ในตัวเดียวกัน และมีคุณสมบัติในการตัดวงจรที่รวดเร็วเพียง 1/1000 วินาที เท่านั้น มี Resettable Funtion ที่มีหน้าทีตัดวงจรเมื่อมีไฟกระโชกรุนแรงเข้ามาในระบบ และยังสามาถ Reset อุปกรณ์ให้กลับมาทำงานได้อีกครั้ง ที่สำคัญคือติดตั้งและบำรุงรักษาง่าย
ด้วยนวัตกรรมต่างเหล่านี้ของ บริษัท สตาบิล จำกัด จึงมั่นใจได้ว่า อุปกรณ์Load Cell จะได้รับการป้องกันอย่างปลอดภัย

Posted in faq

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก (Surge Protection) สำหรับระบบโซล่าเซลล์ Solar cell

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก (Surge Protection) สำหรับระบบโซล่าเซลล์ Solar cell

ในปัจจุบันระบบพลังงานทดแทนได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หนึ่งในเทคโนโลยีที่เป็นการปฏิวัติการผลิตพลังงานคือ ระบบโซล่าเซลล์ หรือ พลังงานแสงอาทิตย์ การใช้พลังงานจากดวงอาทิตย์ไม่เพียงแต่เป็นทางเลือกที่ยั่งยืน แต่ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการจัดการกับวิกฤตพลังงานที่เรากำลังเผชิญอยู่ ปัญหาหนึ่งที่สำคัญในระบบโซล่าเซลล์ เมื่อมีฟ้าผ่า หรือการลัดวงจรของระบบส่งกำลังไฟฟ้า หรือการปิด-เปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ส่งผลให้มีแรงดันเกินเข้ามาในระบบไฟฟ้า ทั้งในรูป ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุม เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจสร้างความเสียหายให้กับ แผงโซล่าเซลล์ อินเวอร์เตอร์ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่สำคัญ  ซึ่งทำให้ต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซมและจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ทดแทน

ตามมาตรฐาน IEEE และ IEC ไฟกระโชกหรือไฟกระชาก ที่เกิดในสภาพเป็นจริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) สาเหตุเกิดมาจาก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า และไฟกระโชกแบบช่วงยาว Temporary Over Voltages ( TOVs ) สาเหตุเกิดจากหลายอย่าง เช่น ไฟฟ้าติดๆดับๆ, อุบัติเหตุทางสายส่งไฟฟ้า, การปิด-เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) นี้ เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยอาจมีค่าสูงมากกว่า 1000 โวลท์ขึ้นไปแต่มีระยะเวลาในการเกิดที่สั้นมากๆ เช่น เศษ 1 ส่วน ล้านของวินาที เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยค่าการเกิดไฟเกินนั้นอาจมีค่าต่ำกว่า 1000 โวลท์ แต่มีระยะเวลาในการเกิดยาวนานกว่าเช่น จาก 1 ส่วนพันของวินาที จนถึงหลายวินาทีเป็นต้น ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้แม้ค่า Voltages จะต่ำกว่าการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) ก็ตาม แต่เนื่องจากระยะเวลาการเกิดที่ยาวนานกว่ามาก จึงมีพลังงานมากพอที่จะทำให้อุปกรณ์ฯ เสียหายได้

SOLAR-ROOF

dc line surge protector

DC Line Surge Protector เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้ป้องกันความเสียหาย อันเนื่องมาจาก ฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก ( Surge ) ทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient )และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOV ) ซึ่งปนเข้ามา หรือเหนี่ยวนำเข้ามาทางสายไฟฟ้า DC โดยจะควบคุมแรงดันไฟกระโชกไม่ให้สูงเกินไปจนเป็นอันตราย โดยอุปกรณ์ป้องกันฯ จะดึงกระแสไฟกระโชกผ่านตัวอุปกรณ์ป้องกันฯ แล้วนำไปทิ้งลงดินผ่านทางแท่งกราวด์ ทำให้เกิดความปลอดภัยกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่ต่อใช้งาน รวมถึงเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานด้วย อุปกรณ์ป้องกันฯ นี้จะถูกติดตั้งในลักษณะต่อขนานกับระบบไฟฟ้า จึงสามารถทำการติดตั้งได้เลย ไม่ต้องคำนึงของกระแสใช้งานของ Load

ac line surge protector

AC Line Surge Protector เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้ป้องกันความเสียหาย อันเนื่องมาจาก ฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก ( Surge ) ทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient )และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOV ) ซึ่งปนเข้ามา หรือเหนี่ยวนำเข้ามาทางสายไฟฟ้า AC โดยจะควบคุมแรงดันไฟกระโชกไม่ให้สูงเกินไปจนเป็นอันตรายโดยอุปกรณ์ป้องกันฯ จะดึงกระแสไฟกระโชกผ่านตัวอุปกรณ์ป้องกันฯ แล้วนำไปทิ้งลงดินผ่านทางแท่งกราวด์ ทำให้เกิดความปลอดภัยกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ต่อใช้งานอยู่ รวมถึงเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน อุปกรณ์ป้องกันฯ นี้ไม่มีผลต่อการกินกระแสไฟฟ้าของโหลด เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ต่อขนานกับระบบไฟฟ้า ดังนั้นกรณีที่อุปกรณ์ป้องกันฯ ได้รับความเสียหาย จึงสามารถถอดซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ได้ โดยไม่มีผลกระทบใดๆ ทั้งสิ้นต่อโหลด กล่าวคือ โหลดต่าง ๆ ยังคงทำงานได้ตามปกติขณะตรวจซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ป้องกันฯ

ด้วยนวัตกรรมต่างเหล่านี้ของ บริษัท สตาบิล จำกัด จึงมั่นใจได้ว่า อุปกรณ์โซล่าเซลล์จะได้รับการป้องกันอย่างปลอดภัย

Posted in faq

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก สำหรับกล้องวงจรปิด

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า
ไฟกระโชก ไฟกระชาก สำหรับกล้องวงจรปิด

ไฟกระชากกล้อง

ในยุคที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว กล้องวงจรปิด ( CCTV : Closed Circuit Television System) ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในองค์กรต่างๆ ที่ใช้ในการเฝ้าระวังและบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่างๆ
และยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ที่อาศัยหรือทำงานในพื้นที่นั้นๆด้วย แต่อุปกรณ์เหล่านี้ค่อนข้างเปราะบางและเสียหายได้ง่ายจากความไม่เสถียรหรือความผิดปกติของระบบไฟฟ้า เมื่อมีฟ้าผ่า หรือการลัดวงจรของระบบส่งกำลังไฟฟ้า หรือการปิด-เปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ เกิดขึ้น ส่งผลให้มีแรงดันเกินเข้ามาในระบบไฟฟ้า ทั้งในรูป ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs )

ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุม เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจสร้างความเสียหายทางตรงให้กับอุปกรณ์กล้องวงจรปิด ซึ่งทำให้ต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซมและจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ทดแทน นอกจากนี้ยังมีความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม เช่น กล้องวงจรปิดไม่สามารถบันทึกเหตุการณ์สำคัญๆ ความเสียหายทางธุรกิจทีมี่มูลค่าความเสียหายมากมาย สุดที่จะประเมินค่าได้

ตามมาตรฐาน IEEE และ IEC ไฟกระโชกหรือไฟกระชาก ที่เกิดในสภาพเป็นจริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) สาเหตุเกิดมาจาก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า และไฟกระโชกแบบช่วงยาว Temporary Over Voltages ( TOVs ) สาเหตุเกิดจากหลายอย่าง เช่น ไฟฟ้าติดๆดับๆ, อุบัติเหตุทางสายส่งไฟฟ้า, การปิด-เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) นี้ เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยอาจมีค่าสูงมากกว่า 1000 โวลท์ขึ้นไปแต่มีระยะเวลาในการเกิดที่สั้นมากๆ เช่น เศษ 1 ส่วน ล้านของวินาที เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยค่าการเกิดไฟเกินนั้นอาจมีค่าต่ำกว่า 1000 โวลท์

แต่มีระยะเวลาในการเกิดยาวนานกว่าเช่น จาก 1 ส่วนพันของวินาที จนถึงหลายวินาทีเป็นต้น ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้แม้ค่า Voltages จะต่ำกว่าการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) ก็ตาม แต่เนื่องจากระยะเวลาการเกิดที่ยาวนานกว่ามาก จึงมีพลังงานมากพอที่จะทำให้อุปกรณ์ฯ เสียหายได้

 

SiPAD ไซแพด เสียบตรงไหน ป้องกันตรงนั้น

ด้วยปัญหาต่างๆเหล่านี้ บริษัท สตาบิล จำกัด ได้คิดค้นนวัตกรรมที่ใช้ในการป้องกันฟ้าผ่าไฟกระโชกสำหรับอุปกรณ์กล้องวงจรปิดข้นมาได้แก่
SiPAD ( ไซแพด ) เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้านวัตกรรมไทย จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ( NSTDA ) เพื่อใช้ป้องกัน อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เช่น คอมพิวเตอร์, WiFi, Router และ Modem เป็นต้น ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่า ไฟกระโชก, แรงดันไฟฟ้าเกินชั่วขณะ, แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดจากการเปิด–ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ หรือเกิดการลัดวงจรของระบบไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ด้วย STOV Technology ซึ่งมีคุณสมบัติที่ป้องกันทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ได้ในตัวเดียวกัน เพื่อความปลอดภัยสูงสุดที่มากกว่ามาตรฐาน

โดย SiPAD สามารถเสียบใช้งานบนเต้ารับไฟฟ้าได้ทันทีด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญในการติดตั้งแต่อย่างใด ทำให้สะดวก รวดเร็ว และประหยัด ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง

PDU ( ProAC Distribution Unit )

PDU ( ProAC Distribution Unit ) เป็นอุปกรณ์รางปลั๊กไฟ ที่ตัวโครงสร้างทำจากอลูมิเนียมโปรไฟล์ น้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม ออกแบบมาให้มีขนาดเล็กเพียง 1U เพื่อการติดตั้งใช้งานได้ง่ายในตู้ Rack 19” โดยมีจำนวนเต้ารับทั้งหมด 12 เต้ารับ ( เต้ารับเป็นแบบมีม่านนิรภัยตามมาตรฐาน มอก.166-2549 ) โดยแบ่งเป็นด้านหน้าจำนวน 2 เต้ารับ และด้านหลังจำนวน 10 เต้ารับ เพื่อความสะดวกในการต่อใช้งาน และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสายไฟของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ต่อใช้งานอยู่ภายในตู้ Rack 19” นอกจากนั้นยังมีตัวเลขแสดงค่าของแรงดันไฟฟ้า และผลรวมของกระแสไฟฟ้าใช้งานแบบ LCD และที่สำคัญที่สุดคือ มีอุปกรณ์เสริมในการป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก เสิร์จ ( ที่เข้ามาหรือเหนี่ยวนำเข้ามาในระบบไฟฟ้า 230 volt 50 Hz ในตู้ Rack 19” ) เพิ่มให้อีกด้วย โดยใช้ตัวป้องกันชนิด MOV ยี่ห้อ TDK ( เดิมยี่ห้อ SIEMENS ) คุณภาพสูง มาตรฐาน UL และ CSA รวมถึงมีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการลัดวงจร และกระแสไฟฟ้าเกินอัตโนมัติแบบ 2 Poles
( Rocker Switch Circuit Breaker ) มีคุณสมบัติตามมาตรฐาน IEC 60934 : 2000 ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่ต่อใช้งานอยู่ในตู้ Rack 19” ไม่ได้รับความเสียหาย และผู้ปฏิบัติงานได้รับความปลอดภัยสูงสุด

Data Line Surge Protector

อุปกรณ์ Data Line Surge Protector เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกทางคู่สายสัญญาณ ใช้ป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์ต่างๆ ( Load ) ที่ต่อใช้งานกับคู่สายสัญญาณเหล่านั้น เช่น ระบบ LAN / Ethernet Network, CCTV, Network Camera โดยมีคุณสมบัติที่สามารถป้องกันไฟกระโชกที่เหนี่ยวนำเข้ามาทางคู่สายสัญญาณในรูปของแรงดันไฟฟ้าเกิน ( Over Voltage ) ติดตั้งใช้งานง่าย ไม่ต้องบำรุงรักษา

ข้อดีของการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากสำหรับกล้องวงจรปิด

1.ป้องกันไฟกระโชกที่เข้ามาในระบบ
2.ยืดอายุการใช้งานกล้องวงจรปิด
3.ป้องกันข้อมูลกล้องวงจรปิดเสียหรือสูญหาย

การเลือกซื้ออุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกควรพิจารณาจาก


1.ค่าแรงดันไฟฟ้าที่อุปกรณ์รองรับ
2.ความสามารถในการป้องกันไฟฟ้ากระโชกในระดับต่างๆ
3.การติดตั้งง่ายและเข้ากับระบบที่มีอยู่

ด้วยนวัตกรรมต่างเหล่านี้ของ บริษัท สตาบิล จำกัด จึงมั่นใจได้ว่า อุปกรณ์กล้องวงจรปิดจะได้รับการป้องกันอย่างปลอดภัย

Posted in faq

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก SiPAD ที่บ้าน

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก SiPAD ที่บ้าน

ตัวกันไฟกระชาก sipad

ในปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆภายในบ้านที่ใช้กันอยู่นั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการใช้ชีวิต เทคโนโลยีต่างๆได้ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีความสามารถในการทำงานได้เร็วมากขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่อุปกรณ์เหล่านี้ค่อนข้างเปราะบางและเสียหายได้ง่ายจากความไม่เสถียรหรือความผิดปกติของระบบไฟฟ้า

ปัญหาหนึ่งในบ้านพักที่อยู่อาศัย เมื่อมีฟ้าผ่า หรือการลัดวงจรของระบบส่งกำลังไฟฟ้า หรือการปิด-เปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ส่งผลให้มีแรงดันเกินเข้ามาในระบบไฟฟ้า ทั้งในรูป ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุม เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจสร้างความเสียหายทางตรงให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์  คอมพิวเตอร์  อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ  ซึ่งทำให้ต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซมและจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ทดแทน

ตามมาตรฐาน IEEE และ IEC ไฟกระโชกหรือไฟกระชาก ที่เกิดในสภาพเป็นจริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) สาเหตุเกิดมาจาก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า และไฟกระโชกแบบช่วงยาว Temporary Over Voltages ( TOVs ) สาเหตุเกิดจากหลายอย่าง เช่น ไฟฟ้าติดๆดับๆ, อุบัติเหตุทางสายส่งไฟฟ้า, การปิด-เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่เป็นต้น

ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) นี้ เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยอาจมีค่าสูงมากกว่า 1000 โวลท์ขึ้นไปแต่มีระยะเวลาในการเกิดที่สั้นมากๆ เช่น เศษ 1 ส่วน ล้านของวินาที เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยค่าการเกิดไฟเกินนั้นอาจมีค่าต่ำกว่า 1000 โวลท์ แต่มีระยะเวลาในการเกิดยาวนานกว่าเช่น จาก 1 ส่วนพันของวินาที จนถึงหลายวินาทีเป็นต้น ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้แม้ค่า Voltages จะต่ำกว่าการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) ก็ตาม แต่เนื่องจากระยะเวลาการเกิดที่ยาวนานกว่ามาก จึงมีพลังงานมากพอที่จะทำให้อุปกรณ์ฯ เสียหายได้

อุปกรณ์ SiPAD ( ไซแพด ) เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้านวัตกรรมไทย จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ( NSTDA ) เพื่อใช้ป้องกัน อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เช่น คอมพิวเตอร์,  WiFi, Router และ Modem เป็นต้น ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่า ไฟกระโชก, แรงดันไฟฟ้าเกินชั่วขณะ, แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดจากการเปิด–ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ หรือเกิดการลัดวงจรของระบบไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ด้วย STOV Technology  ซึ่งมีคุณสมบัติที่ป้องกันทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient )  และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ได้ในตัวเดียวกัน  เพื่อความปลอดภัยสูงสุดที่มากกว่ามาตรฐาน โดย SiPAD สามารถเสียบใช้งานบนเต้ารับไฟฟ้าได้ทันทีด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญในการติดตั้งแต่อย่างใด ทำให้สะดวก รวดเร็ว และประหยัด  ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง

 SiPAD ( ไซแพด ) ยังเป็นอุปกรณ์ ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ที่นอกจากจะใช้งานง่ายพกพาสะดวก

เพียงแค่เสียบกับเต้ารับไฟฟ้าได้ทันทีแล้ว ยังไม่ต้องการการบำรุงรักษาใดๆ ทั้งสิ้น ทำให้ประหยัดงบประมาณในการบำรุงรักษาและยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป กรณีที่ได้รับไฟกระโชก ไม่เกินขนาดที่อุปกรณ์ป้องกันระบุไว้ จึงมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ SiPAD ( ไซแพด ) เสียบตรงไหนปลอดภัยตรงนั้น

สนใจสั่งซื้อสินค้า Click

วิธีป้องกันไฟกระชาก

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก HoPAD ที่บ้าน

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก HoPAD ที่บ้าน

วิธีป้องกันไฟกระชาก

ในปัจจุบันปัญหาหนึ่งในบ้านพักที่อยู่อาศัย เมื่อมีฟ้าผ่า หรือการลัดวงจรของระบบส่งกำลังไฟฟ้า หรือการปิด-เปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ส่งผลให้มีแรงดันเกินเข้ามาในระบบไฟฟ้า ทั้งในรูป ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) เกิดขั้น ลำพัง Circuit Breaker, อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด / RCBO / ELCB , UPS ฯลฯ ไม่สามารถป้องกันได้ตามที่ควร ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้านได้รับความเสียหาย

ตามมาตรฐาน IEEE และ IEC ไฟกระโชกหรือไฟกระชาก ที่เกิดในสภาพเป็นจริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) สาเหตุเกิดมาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า และไฟกระโชกแบบช่วงยาว Temporary Over Voltages ( TOVs ) สาเหตุเกิดจากหลายอย่าง เช่น ไฟฟ้าติดๆดับๆ, อุบัติเหตุทางสายส่งไฟฟ้า, การปิด-เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่เป็นต้น

ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) นี้ เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยอาจมีค่าสูงมากกว่า 1000 โวลท์ขึ้นไปแต่มีระยะเวลาในการเกิดที่สั้นมากๆ เช่น เศษ 1 ส่วน ล้านของวินาที เป็นต้น ไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้เป็นการเกิดสภาวะไฟเกินที่เข้ามาในระบบไฟฟ้าโดยเฉียบพลัน โดยค่าการเกิดไฟเกินนั้นอาจมีค่าต่ำกว่า 1000 โวลท์ แต่มีระยะเวลาในการเกิดยาวนานกว่าเช่น จาก 1 ส่วนพันของวินาที จนถึงหลายวินาทีเป็นต้น ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) นี้แม้ค่า Voltages จะต่ำกว่าการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) ก็ตาม แต่เนื่องจากระยะเวลาการเกิดที่ยาวนานกว่ามาก จึงมีพลังงานมากพอที่จะทำให้อุปกรณ์ฯ เสียหายได้

ด้วยนวัตกรรมของ บริษัท สตาบิล จำกัด ได้คิดค้นอุปกรณ์โฮมแพด ( HoPAD )ที่สามารถป้องกันปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ได้ จึงมั่นใจได้ว่า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านจะได้รับการป้องกันอย่างปลอดภัย

อุปกรณ์โฮมแพด ( HoPAD ) เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ( Surge Protector ) ทางสายไฟฟ้าที่ได้ถูกออกแบบ ผลิต และทดสอบตามรูปคลื่นมาตรฐาน ANSI / IEEE C62.41.-2002 และ IEC 61643-11-2011 มีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นสะพานไฟ ( Fuse ) ทำหน้าที่ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร รวมถึงเพื่อทำการตัด-ต่อ และส่วนป้องกันเสิร์จ ( Surge Protector ) ป้องกันได้ทั้งไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) โดยโครงสร้างภายนอกทำจาก Aluminium Profile ทำให้มีความปลอดภัย และมีความคงทนสูง ไม่ติดไฟ มีไฟแสดงสถานะ Power และ Fault ส่วนภายในมีอุปกรณ์สำคัญที่ทำหน้าที่ในการรับไฟกระโชกได้เป็นอย่างดี  ป้องกันได้ครบทุกโหมด ( All modes protection ) L-N ,L-G, N-G และกินไฟน้อยกว่า 0.005 A

จึงมั่นใจได้ว่า  อุปกรณ์โฮมแพด  ( HoPAD ) เป็นอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ไฟกระโชก ไฟกระชาก เสิร์จ ( Surge ) ติดตั้งตัวเดียวป้องกันทั้งบ้านได้

สนใจสั่งซื้อสินค้า click

เครื่องป้องกันไฟกระชาก

ค่า Maximum continuous operation voltage (Uc) ของอุปกรณ์ SPD ควรมีค่ายิ่งสูงยิ่งดีจริงหรือ ?

ค่า Maximum continuous operating voltage (Uc) ของอุปกรณ์ SPD

มีความหมายว่าอย่างไร ?  มีค่ายิ่งสูงยิ่งดีจริงหรือ ?

 

  • ค่า Maximum continuous operating voltage ของอุปกรณ์ SPD ( Surge Protective Device ) คือ ค่าแรงดันไฟฟ้าปกติสูงสุด

 

  • ที่อุปกรณ์ SPD จะไม่ทำงาน ( ไม่ทำการป้องกัน ) เพราะยังคงเห็นว่าเป็นแรงดันไฟฟ้าปกติอยู่  ตัวอย่างเช่น

 

1.อุปกรณ์ SPD รุ่น ABC มีค่าแรงดันไฟฟ้าปกติเฉลี่ย ( Un ) ที่ 220 Volt และมีค่าแรงดันไฟฟ้าปกติสูงสุด ( Uc )ที่ 275 Volt

จะมีความหมายว่า อุปกรณ์ SPD รุ่น ABC นี้สามารถต่อใช้งานกับแรงดันไฟฟ้าของการไฟฟ้า Line Voltage 230 Volt ได้และจะไม่ทำงาน ( ไม่ทำการป้องกัน ) จนกว่าแรงดันไฟฟ้าของการไฟฟ้า Line Voltage จะมีค่าสูงมากกว่า 275 Volt หรือ มีแรงดันไฟฟ้าจากภายนอก เช่น แรงดันฟ้าผ่า เป็นต้น เหนี่ยวนำเข้ามาในระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า ทำให้ Line Voltage มีค่าสูงมากกว่า 275 Volt อุปกรณ์ SPD รุ่น ABC จึงจะทำงานหรือทำการป้องกัน ( เมื่อมีแรงดันไฟฟ้ามากกว่า 275 Volt ตกคล่อมที่อุปกรณ์ SPD รุ่น ABC นี้ )

 

2. อุปกรณ์ SPD รุ่น XYZ มีค่าแรงดันไฟฟ้าปกติเฉลี่ย ( Un ) ที่ 240 Volt และมีค่าแรงดันไฟฟ้าปกติสูงสุด ( Uc ) ที่ 500 Volt จะมีความหมายว่า อุปกรณ์ SPD รุ่น XYZ นี้สามารถต่อใช้งานกับแรงดันไฟฟ้าของการไฟฟ้า Line Voltage 230 Volt ได้และจะไม่ทำงาน

( ไม่ทำการป้องกัน ) จนกว่าแรงดันไฟฟ้าของการไฟฟ้า Line Voltage จะมีค่าสูงมากกว่า 500 Volt หรือ มีแรงดันไฟฟ้าจากภายนอก เช่น แรงดันฟ้าผ่า เป็นต้น  เหนี่ยวนำเข้ามาในระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า ทำให้ Line Voltage มีค่าสูงมากกว่า 500 Volt อุปกรณ์ SPD รุ่น XYZ จึงจะทำงานหรือทำการป้องกัน ( เมื่อมีแรงดันไฟฟ้ามากกว่า 500 Volt ตกคล่อมที่อุปกรณ์ SPD   รุ่น XYZ นี้ )

 

ในกรณีติดตั้งอุปกรณ์ SPD ทั้งสองรุ่นกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า 230 Volt จะมีคุณสมบัติในการทำงาน หรือการป้องกันไฟกระโชก ( Surge ) ที่แตกต่างกันดังนี้คือ

เมื่อมีไฟกระโชก ( Surge )  คือมีแรงดันไฟฟ้าสูงผิดปกติเกิดขึ้น เช่น 420 Volt เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า

 

  • อุปกรณ์ SPD รุ่น ABC จะเห็นว่าแรงดันไฟฟ้า 420 Volt นี้ เป็นแรงดันไฟฟ้าสูงผิดปกติ เนื่องจากค่าแรงดันไฟฟ้าปกติสูงสุด ( Uc ) มีค่าที่ 275 Volt ดังนั้นอุปกรณ์ SPD รุ่น ABC จะทำงาน คือทำการป้องกันไม่ให้แรงดัน 420 Volt นี้ หลุดเข้าไปที่ Loads ทำให้ Loads ต่างๆ ได้รับการป้องกัน จากแรงดันไฟฟ้าผิดปกติ 420 Volt นี้

 

  • ส่วนอุปกรณ์ SPD รุ่น XYZ จะเห็นว่าแรงดันไฟฟ้า 420 Volt นี้ ยังคงเป็นแรงดันไฟฟ้าปกติ  เนื่องจากค่าแรงดันไฟฟ้าปกติสูงสุด ( Uc ) มีค่าที่ 500 Volt ดังนั้นอุปกรณ์ SPD รุ่น XYZ จะไม่ทำงาน ( ไม่ทำการป้องกัน ) ดังนั้นแรงดันไฟฟ้า 420 Volt นี้ ก็จะหลุดเข้าไปที่ Loads  ( นั่นหมายความว่า Loads ต่างๆ ไม่ได้รับการป้องกัน ) ซึ่ง Loads เหล่านั้นจะได้รับความเสียหายหรือไม่นั้น  ก็ขึ้นอยู่กับความเปราะบางของ  Loads ต่าง ๆ เหล่านั้น นั่นเอง

 

ดังนั้นเราจึงควรเลือกใช้อุปกรณ์ SPD ที่มีค่า Uc ที่เหมาะสมไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป  ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของ Loads

Posted in faq

ระยะเวลาการทำงาน SPD ที่รวดเร็วและทำให้ Load ปลอดภัยหรือไม่ ?

คำถามจากลูกค้า : ช่วงการเกิด surge เอาตัว SPD ไปต่อ ขนาน เท่ากับว่าแรงดัน ตกคร่อมขณะนั้น เท่ากันหมด (แรงดันสูง 1000-6000 volt) แม้ว่ากระแสส่วนใหญ่จะไหลไปทาง SPD แต่แรงดันในวงจรขนานมันเท่ากันหมด ดังนั้น แรงดันที่ตกคร่อม โหลดกับแหล่งจ่ายไฟ ก็น่าจะเท่ากัน คำถามคือ โหลดกับแหล่งจ่าย จะทนแรงดันตรงนี้ได้มั้ยครับ เข้าใจว่าแรงดันจะลดลงเนื่อง transient ไม่ได้ลดลงเนื่องจาก SPD

คำตอบ : ระยะเวลาในการเกิด surge จะมีระยะเวลาเศษหนึ่งส่วนล้านของวินาที และตัว SPD มี response time ที่รวดเร็วมากคือน้อยกว่า 25 nSec. มีค่าแรงดันปล่อยผ่านไปยัง load น้อยกว่า 1.5 kv ซึ่งโหลดโดยส่วนใหญ่จะยังคงปลอดภัยครับ

Posted in faq

ทำไมเครื่องวัดพลังงาน (kWh meter) ไม่ได้รับผลกระทบจากไฟกระโชก?

KWh meter ส่วนใหญ่มี 2 ประเภท

 

1) แบบ Analog meter ประเภทนี้ คือ Copper Coil และ CT ด้านใน แข็งแรงมาก ทนต่อไฟกระโชก CT ใช้สำหรับเหนี่ยวนำกระแสไฟ ไม่เกิดผลกระทบจากไฟกระโชกโดยตรง

2) แบบ Digital meter (TOU meter) ชนิดนี้เป็นส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ภายใน และส่วนมากเสียหายจากไฟกระโชก และต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก เพื่อป้องกันตัวเครื่อง

Posted in faq

น้ำท่วมขังในบ่อกราวด์ได้หรือไม่ และจะมีอันตรายอะไรไหม ?

เราสามารถพบเจอกรณีน้ำท่วมขังในบ่อกราวด์ได้ค่อนข้างบ่อยซึ่งสาเหตุอาจเกิดได้จากอะไรบ้าง :

  • หน้าฝนมีฝนตกชุกทำให้น้ำฝนไหลเข้าไปขังในบ่อกราวด์
  • อยู่ใกล้ท่อระบายน้ำทำให้มีน้ำไหลซึมเข้าไปขังในบ่อกราวด์
  • ระดับน้ำในดินสูงทำให้มีน้ำซึมเข้าไปขังในบ่อกราวด์
  • มีตาน้ำใต้ดินทำให้มีน้ำซึมเข้าไปขังในบ่อกราวด์
  • จากสาเหตุอื่นๆ

ซึ่งโดยทั่วไปแล้วแท่งกราวด์จะมีหน้าที่ระบายความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าลงดิน ทำให้เกิดความปลอดภัย กับทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า และผู้ปฎิบัติงานในพื้นที่ ทั้งนี้เนื่องจากค่าความต้านทานดินของแท่งกราวด์ที่ต่ำทำให้กระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติไหลผ่านแท่งกราวด์ลงดินได้ดี ทำให้ไม่เกิดแรงดันไฟฟ้าที่แท่งกราวด์สูงจนเกินไป จนทำให้เกิดเป็นอันตรายได้ ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้แท่งกราวด์มีค่าความต้านทานดินที่ต่ำ ก็คือความชื้นในดินซึ่งเกิดจากน้ำนั่นเอง

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการที่มีน้ำขังในบ่อกราวด์กลับมีผลดีในแง่การนำกระแสไฟฟ้าลงดินได้ดี ซึ่งแท่งกราวด์ของ สตาบิล เป็นกราวด์แบบกราวด์ลึก (ลึกประมาณ 30 เมตร) โดยแท่งกราวด์จะทำจากแท่ง Stainless steel ทนต่อการกัดกร่อน จุดเชื่อมต่อเป็นแบบ Exothermic welding (หลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน) และทาทับด้วยสีกันสนิม อีกทั้งสายกราวด์เป็นสายทองแดง THW หุ้มฉนวน จึงทำให้คงทนต่อการกัดกร่อนโดยไม่มีปัญหาใดๆ ในการที่จะแช่อยูในน้ำเป็นเวลานาน   ซึ่งขณะการตรวจวัดค่า ความต้านทานดินของแท่งกราวด์จะต้องทำการวิดน้ำออกบ่อกราวด์ให้แห้งก่อน

 

 

Posted in faq

ระบบป้องกันฟ้าผ่าที่ดีควรเป็นอย่างไร

ระบบป้องกันฟ้าผ่าที่ดีควรเป็นอย่างไร
คำตอบ : ระบบป้องกันฟ้าผ่ามีส่วนประกอบที่สำคัญๆ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
1. หัวล่อฟ้า ( Air-terminal )
2. ตัวนำลงดิน ( Down Conductor/Down Lead )
3. แท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( Lightning Ground )

1. หัวล่อฟ้า ( Air-terminal ) ในกรณีที่เกิดฟ้าผ่าขึ้นหัวล่อฟ้าจะเป็นตำแหน่งที่เราต้องการให้ฟ้ามาผ่าลง ดังนั้นหัวล่อฟ้าจึงควรติดอยู่ในตำแหน่งที่สูงสุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เช่น อยู่เหนือจากจุดที่สูงที่สุดของอาคาร ( เสาอากาศทีวี, เสาอากาศวิทยุ, แท๊งค์น้ำ ฯลฯ ) ขึ้นไปอย่างน้อย 2 เมตร (ตามมาตรฐานของบริษัทสตาบิล) ตัวหัวล่อฟ้าควรทำด้วยโลหะที่มีคุณสมบัติการเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี ทนต่อการหลอมละลาย เช่น แท่งทองแดง แท่งสเตนเลส แท่งทองแดงชุบดีบุก แท่งเหล็ก หรือวัสดุตัวนำอื่นๆ ซึ่งการพิจารณาวัสดุที่นำมาใช้ สามารถพิจารณาได้จากพื้นที่ที่ติดตั้ง เช่น กรณีอยู่ใกล้ทะเลควรใช้วัสดุที่สามารถทนการกัดกร่อนได้ดี หรือพิจารณาจากงบประมาณที่ตั้งไว้เป็นต้น การติดตั้งหัวล่อฟ้าจะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของหัวล่อฟ้าเชื่อมต่อกับตัวอาคาร ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบจากฟ้าผ่า ที่อาจเกิดขึ้นกับตัวอาคารและระบบไฟฟ้าในอาคารของท่าน ตัวหัวล่อฟ้าควรมีลักษณะเป็นปลายแหลม เนื่องจากจะมีคุณสมบัติในการถ่ายเทประจุไฟฟ้าในอากาศได้ดี และควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3/8 นิ้ว ยาวไม่น้อยกว่า 10 นิ้ว ( ตามมาตรฐาน UL96) ทั้งนี้เพื่อให้สามารถรองรับกระแสฟ้าผ่าขนาดใหญ่ได้ดี

2. ตัวนำลงดิน ( Down Conductor/Down Lead ) ควรใช้สายตัวนำที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าได้ดี ทนต่อการหลอมละลาย เช่นสายไฟ THW, สายทองแดงเปลือย, สายเหล็ก หรือสายตัวนำอื่นๆ ขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 70 มม2.(ตามมาตรฐานของบริษัทสตาบิล) ซึ่งการพิจารณาวัสดุที่นำมาใช้ สามารถพิจารณาได้จากพื้นที่ เช่นกรณีอยู่ใกล้ทะเลควรใช้วัสดุ ที่สามารถทนการกัดกร่อนได้ดี พิจารณาจากความยากง่ายในการติดตั้ง และจากงบประมาณที่ตั้งไว้เป็นต้น การต่อลงดินควรหาแนวเดินสาย ( จากหัวล่อฟ้าจนถึงแท่งกราวด์ฟ้าผ่า ) ที่สั้นที่สุดและเป็นแนวเส้นตรงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้เพื่อลดการเกิด Flash over เข้าบริเวณด้านข้างของอาคาร การต่อสายตัวนำลงดินควรใช้ Down-lead Support ชนิดลูกถ้วย Ceramic ในการยึดสาย ทั้งนี้เพื่อให้ระบบนำลงดิน แยกจากตัวอาคารได้อย่างแท้จริง

3. แท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( Lightning Ground ) ท่านสามารถดูได้จากกระทู้ก่อนหน้านี้ ในหัวข้อเรื่อง กราวด์ลึกมีหลักการทำงานอย่างไร ในปัจจุบันหัวล่อฟ้าที่ใช้กันอยู่ในท้องตลาดมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น หัวล่อฟ้าแบบ Faraday, หัวล่อฟ้าแบบ Early Streamer Emission, หัวล่อฟ้าแบบ Radio Active, หัวล่อฟ้าแบบร่ม และหัวล่อฟ้าแบบอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งตามที่บริษัท สตาบิล จำกัด ได้กล่าวมาข้างต้น และจะขอแนะนำนั้น เป็นหัวล่อฟ้าแบบ Faraday ซึ่งหัวล่อฟ้าแบบ Faraday นี้ เป็นหัวล่อฟ้าแบบที่สามารถใช้งานได้ดี มีราคาถูก และเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายโดยทั่วไป มีมุมในการป้องกันฟ้าผ่าโดยเฉลี่ยประมาณ 45 องศา ( วัดจากปลายสุดของหัวล่อฟ้า ) จากประสบการณ์ของบริษัทสตาบิลที่ผ่านมาพบว่า การนำหัวล่อฟ้าแบบ Faraday มาต่อใช้งานร่วมกับระบบกราวด์ฟ้าผ่าแบบกราวด์ลึก จะทำให้ประสิทธิภาพและมุมในการป้องกันฟ้าผ่ามีมากยิ่งขึ้น เนื่องจากหัวล่อฟ้าจะสามารถถ่ายเทประจุไฟฟ้าระหว่างดินและประจุไฟฟ้าในอากาศผ่านแท่งกราวด์ฟ้าผ่าแบบกราวด์ลึกได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

การติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่า จุดเชื่อมต่อทุกจุด เช่น ระหว่างหัวล่อฟ้ากับสายตัวนำลงดิน และระหว่างสายตัวนำลงดินกับแท่งกราวด์ฟ้าผ่า จะทำการเชื่อมต่อด้วยวิธีหลอมละลายเนื้อโลหะเข้าด้วยกัน ( Exothermic Welding ) ซึ่งการเชื่อมต่อด้วยวิธีหลอมละลายเนื้อโลหะเข้าด้วยกันนี้ จะทำให้การถ่ายเทกระแสฟ้าผ่า ซึ่งเป็นกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ในระยะเวลาอันสั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงทำให้การเกิดผลกระทบจากฟ้าผ่าต่อตัวอาคารและระบบไฟฟ้า ในอาคารของท่านลดน้อยไปด้วยเช่นกัน.

สินค้าแนะนำ

เครื่องป้องกันไฟกระชาก
วิธีป้องกันไฟกระชาก
Posted in faq