กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน 66 จังหวัด ระวังพายุฝนฟ้าคะนอง

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงาน “พยากรณ์อากาศ” ระบุ ทั่วไทยตอนบนมีอากาศร้อน กับมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจมีฟ้าผ่า และมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้บางแห่ง
เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 64 กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศประจำวัน ลักษณะอากาศทั่วไปพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้แล้ว ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนจากประเทศเมียนมาเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจมีฟ้าผ่า และมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้บางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

สำหรับอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีลมตะวันออกเฉียงใต้ และลมตะวันออกพัดปกคลุม ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ฝุ่นละอองขนาดเล็กในระยะนี้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในบางพื้นที่ จึงทำให้การสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันยังคงอยู่ในเกณฑ์น้อยถึงปานกลาง

Season of the sound 2020

งาน Season of the sound 2020 วันที่ 4-6 ธ.ค. 63 ณ.ฟอร์จูนทาวน์ ชั้น 2

งานกองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ที่ชลบุรี

ระบบป้องกันฟ้าผ่าที่ดีควรเป็นอย่างไร

ระบบป้องกันฟ้าผ่าที่ดีควรเป็นอย่างไร
คำตอบ : ระบบป้องกันฟ้าผ่ามีส่วนประกอบที่สำคัญๆ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
1. หัวล่อฟ้า ( Air-terminal )
2. ตัวนำลงดิน ( Down Conductor/Down Lead )
3. แท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( Lightning Ground )

1. หัวล่อฟ้า ( Air-terminal ) ในกรณีที่เกิดฟ้าผ่าขึ้นหัวล่อฟ้าจะเป็นตำแหน่งที่เราต้องการให้ฟ้ามาผ่าลง ดังนั้นหัวล่อฟ้าจึงควรติดอยู่ในตำแหน่งที่สูงสุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เช่น อยู่เหนือจากจุดที่สูงที่สุดของอาคาร ( เสาอากาศทีวี, เสาอากาศวิทยุ, แท๊งค์น้ำ ฯลฯ ) ขึ้นไปอย่างน้อย 2 เมตร (ตามมาตรฐานของบริษัทสตาบิล) ตัวหัวล่อฟ้าควรทำด้วยโลหะที่มีคุณสมบัติการเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี ทนต่อการหลอมละลาย เช่น แท่งทองแดง แท่งสเตนเลส แท่งทองแดงชุบดีบุก แท่งเหล็ก หรือวัสดุตัวนำอื่นๆ ซึ่งการพิจารณาวัสดุที่นำมาใช้ สามารถพิจารณาได้จากพื้นที่ที่ติดตั้ง เช่น กรณีอยู่ใกล้ทะเลควรใช้วัสดุที่สามารถทนการกัดกร่อนได้ดี หรือพิจารณาจากงบประมาณที่ตั้งไว้เป็นต้น การติดตั้งหัวล่อฟ้าจะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของหัวล่อฟ้าเชื่อมต่อกับตัวอาคาร ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบจากฟ้าผ่า ที่อาจเกิดขึ้นกับตัวอาคารและระบบไฟฟ้าในอาคารของท่าน ตัวหัวล่อฟ้าควรมีลักษณะเป็นปลายแหลม เนื่องจากจะมีคุณสมบัติในการถ่ายเทประจุไฟฟ้าในอากาศได้ดี และควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3/8 นิ้ว ยาวไม่น้อยกว่า 10 นิ้ว ( ตามมาตรฐาน UL96) ทั้งนี้เพื่อให้สามารถรองรับกระแสฟ้าผ่าขนาดใหญ่ได้ดี

2. ตัวนำลงดิน ( Down Conductor/Down Lead ) ควรใช้สายตัวนำที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าได้ดี ทนต่อการหลอมละลาย เช่นสายไฟ THW, สายทองแดงเปลือย, สายเหล็ก หรือสายตัวนำอื่นๆ ขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 70 มม2.(ตามมาตรฐานของบริษัทสตาบิล) ซึ่งการพิจารณาวัสดุที่นำมาใช้ สามารถพิจารณาได้จากพื้นที่ เช่นกรณีอยู่ใกล้ทะเลควรใช้วัสดุ ที่สามารถทนการกัดกร่อนได้ดี พิจารณาจากความยากง่ายในการติดตั้ง และจากงบประมาณที่ตั้งไว้เป็นต้น การต่อลงดินควรหาแนวเดินสาย ( จากหัวล่อฟ้าจนถึงแท่งกราวด์ฟ้าผ่า ) ที่สั้นที่สุดและเป็นแนวเส้นตรงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้เพื่อลดการเกิด Flash over เข้าบริเวณด้านข้างของอาคาร การต่อสายตัวนำลงดินควรใช้ Down-lead Support ชนิดลูกถ้วย Ceramic ในการยึดสาย ทั้งนี้เพื่อให้ระบบนำลงดิน แยกจากตัวอาคารได้อย่างแท้จริง

3. แท่งกราวด์ฟ้าผ่า ( Lightning Ground ) ท่านสามารถดูได้จากกระทู้ก่อนหน้านี้ ในหัวข้อเรื่อง กราวด์ลึกมีหลักการทำงานอย่างไร ในปัจจุบันหัวล่อฟ้าที่ใช้กันอยู่ในท้องตลาดมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น หัวล่อฟ้าแบบ Faraday, หัวล่อฟ้าแบบ Early Streamer Emission, หัวล่อฟ้าแบบ Radio Active, หัวล่อฟ้าแบบร่ม และหัวล่อฟ้าแบบอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งตามที่บริษัท สตาบิล จำกัด ได้กล่าวมาข้างต้น และจะขอแนะนำนั้น เป็นหัวล่อฟ้าแบบ Faraday ซึ่งหัวล่อฟ้าแบบ Faraday นี้ เป็นหัวล่อฟ้าแบบที่สามารถใช้งานได้ดี มีราคาถูก และเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายโดยทั่วไป มีมุมในการป้องกันฟ้าผ่าโดยเฉลี่ยประมาณ 45 องศา ( วัดจากปลายสุดของหัวล่อฟ้า ) จากประสบการณ์ของบริษัทสตาบิลที่ผ่านมาพบว่า การนำหัวล่อฟ้าแบบ Faraday มาต่อใช้งานร่วมกับระบบกราวด์ฟ้าผ่าแบบกราวด์ลึก จะทำให้ประสิทธิภาพและมุมในการป้องกันฟ้าผ่ามีมากยิ่งขึ้น เนื่องจากหัวล่อฟ้าจะสามารถถ่ายเทประจุไฟฟ้าระหว่างดินและประจุไฟฟ้าในอากาศผ่านแท่งกราวด์ฟ้าผ่าแบบกราวด์ลึกได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

การติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่า จุดเชื่อมต่อทุกจุด เช่น ระหว่างหัวล่อฟ้ากับสายตัวนำลงดิน และระหว่างสายตัวนำลงดินกับแท่งกราวด์ฟ้าผ่า จะทำการเชื่อมต่อด้วยวิธีหลอมละลายเนื้อโลหะเข้าด้วยกัน ( Exothermic Welding ) ซึ่งการเชื่อมต่อด้วยวิธีหลอมละลายเนื้อโลหะเข้าด้วยกันนี้ จะทำให้การถ่ายเทกระแสฟ้าผ่า ซึ่งเป็นกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ในระยะเวลาอันสั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงทำให้การเกิดผลกระทบจากฟ้าผ่าต่อตัวอาคารและระบบไฟฟ้า ในอาคารของท่านลดน้อยไปด้วยเช่นกัน.

สินค้าแนะนำ

เครื่องป้องกันไฟกระชาก
วิธีป้องกันไฟกระชาก
Posted in faq

Surge Protector ในรางปลั๊กไฟที่ขายทั่วไปป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

Surge Protector ในรางปลั๊กไฟที่ขายทั่วไปป้องกันไฟกระโชกได้หรือไม่ ?

คำตอบ : อุปกรณ์ Surge Protector ที่ติดตั้งในปลั๊กรางป้องกันไฟกระโชกทั่วไป สามารถใช้ป้องกันไฟกระโชกแบบพื้นฐานได้ คือเป็นไฟกระโชกแบบช่วงสั้นหรือที่เรียกว่า Transient แต่ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกแบบช่วงยาว หรือที่เรียกว่า TOVs (Temporary Over Voltages) ซึ่งการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาว คือการเกิดไฟกระโชกที่มีระยะเวลาการเกิดนานจาก mSec ถึง a few seconds ซึ่งอุปกรณ์ Surge Protector แบบทั่วไปไม่สามารถที่จะรองรับการเกิดไฟกระโชกแบบช่วงยาวนี้ได้ และไฟกระโชกแบบช่วงยาวนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เปราะบางเสียหายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยสูงสุด ท่านจึงควรเลือกใช้แต่อุปกรณ์ Surge Protector ที่มีคุณสมบัติสามารถป้องกันไฟกระโชกทั้งแบบช่วงสั้น Transient และไฟกระโชกแบบช่วงยาว TOVs ได้ในตัวเดียวกัน

Posted in faq

คุณสมบัติที่สำคัญของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกที่จะพิจารณาในการเลือกซื้อมีอะไรบ้าง ?

คุณสมบัติที่สำคัญของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกที่จะพิจารณาในการเลือกซื้อมีอะไรบ้าง ?

คำตอบ : คุณสมบัติที่สำคัญของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกที่จะใช้ในการพิจารณาเลือกซื้อ มีดังนี้
1. ต้องมีความสามารถในการรับไฟกระโชกแบบช่วงสั้น ( Transient ) และแบบช่วงยาว ( TOVs ) ได้
2. ความไวในการทำงานของตัวอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ( Response Time ) จะต้องมีค่าน้อยกว่า 25 nSec.
3. จุดเริ่มทำงานของตัวอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ( Clamping Voltage ) ควรอยู่ในระดับแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสม เช่น อยู่ระหว่าง 256 และ 315 Volt, 50 Hz
4. ค่าแรงดันไฟฟ้าที่ปรากฏที่โหลด ( Let Through Voltage ) ขณะที่อุปกรณ์ป้องกันกำลังรับไฟกระโชกอยู่ จะต้องมีค่าน้อยกว่า 1kv( Test at Transient 6KV / 3KA ) และ / หรือ มีค่าน้อยกว่า 285 VAC ( Test at TOVs 300 -600 VAC, 50 Hz / 10 – 20 A )

Posted in faq

เป็นที่ถกเถียงกันมานานเกี่ยวกับหัวล่อฟ้าแบบ Franklin Rod กับ Early Streamer Emission

เป็นที่ถกเถียงกันมานานเกี่ยวกับหัวล่อฟ้าแบบ Franklin Rod กับ Early Streamer Emission

คำถาม :จากประสบการณ์ในการขายอุปกรณ์ป้องกัน surge และฟ้าผ่าของบริษัท สตาบิล จำกัด คุณคิดว่าหัวล่อฟ้าแบบ Early Streamer Emission ESE สามารถทำงานได้ตามคำโฆษณาหรือไม่ เพราะราคาแต่งต่างกันหลายร้อยเท่า…คิดว่าผู้ซื้อควรเลือกระบบป้องกันแบบไหนจึงคุ้มกว่ากัน

คำตอบ : เท่าที่ทราบหัวล่อฟ้าแบบ Early Streamer Emission เป็นแบบที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้คิดค้นออกแบบ ซึ่งทางด้านวิชาการยังไม่เป็นที่ยอมรับในสากล โดยหลักการพื้นฐานแล้ว หัวล่อฟ้าต้องมีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี และต้องคงทนต่อการถูกกัดกร่อนจากสภาพแวดล้อม เท่านี้ก็มากเกินพอแล้ว
ซึ่งบริษัทฯ มีความเห็นว่า ควรเลือกใช้แบบ Franklin Rod แล้วนำเงินส่วนต่างระหว่างหัวล่อฟ้าแบบ Franklin Rod กับ Early Streamer Emission มาใช้ในส่วนของการทำระบบกราวด์ที่ดี ๆ น่าจะคุ้มค่า

Posted in faq

UPS สามารถป้องกันไฟกระโชก ได้หรือไม่ ?

UPS สามารถป้องกันไฟกระโชก ได้หรือไม่ ?

คำตอบ : หน้าที่หลักของ UPS คือสำรองไฟฟ้าให้กับระบบ กล่าวคือเมื่อไฟฟ้าดับ UPS จะทำหน้าที่จ่ายไฟฟ้าทันทีทันใดอย่างต่อเนื่องให้กับอุปกรณ์ใช้งานต่าง ๆ ( Load ) ที่ต่ออยู่ด้านหลังของ UPS เสมือนหนึ่งว่าไม่มีเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเกิดขึ้น และเนื่องจากการติดตั้ง UPS เป็นการติดตั้งแบบอนุกรมกับระบบไฟฟ้า โดยมีอุปกรณ์ใช้งานต่าง ๆ ( Load ) ต่ออยู่ด้านหลังของ UPS ดังนั้น เมื่อมีไฟกระโชกเข้ามาในระบบ ลำดับแรก ( ด่านแรก ) ที่จะถูกทำลายก่อนคือ UPS ลำดับต่อมาที่จะถูกทำลายคืออุปกรณ์ใช้งานต่าง ๆ ( Load ) ที่ต่ออยู่หลัง UPS จึงเป็นเหตุให้ผู้ใช้งานเข้าใจว่า UPS สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ ซึ่งไม่ถูกต้อง เช่น ในกรณีเกิดไฟกระโชกอย่างรุนแรงมาก ๆ หลังจากที่ UPS เสียหายแล้ว ความรุนแรงของไฟกระโชกอาจยังมีมากพอที่จะหลุดเข้ามาทำลายอุปกรณ์ใช้งานต่าง ๆ ( Load ) ที่ต่ออยู่ด้านหลังของ UPS ได้
หมายเหตุ : อุปกรณ์ Stabilizer , Voltage regulator, Line Conditioner ไม่สามารถป้องกันไฟกระโชกได้ โดยมีหลักการทำงานเช่นเดียวกับ UPS ดังกล่าวข้างต้น

Posted in faq

การเลือกซื้อขนาดของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ควรเลือกอย่างไร ?

การเลือกซื้อขนาดของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ควรเลือกอย่างไร ?

คำตอบ : เป็นคำถามที่ตอบยาก เพราะไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดไฟกระโชกเมื่อใด ? และมีขนาดเท่าไร ? แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อขนาดของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก มีดังนี้คือ

1. สถานที่ที่อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกจะถูกนำมาติดตั้ง ว่าเป็นพื้นที่ล่อแหลมมากน้อยแค่ไหน เช่น อยู่บนเขาหรืออยู่บนพื้นที่โล่ง ก็ควรที่จะเลือกอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกขนาด 100KA at 8/20 µSec. แต่ถ้าอยู่ในพื้นที่ไม่ล่อแหลม ก็เลือกขนาด 40KA at 8/20 µSec. เป็นต้น

2. มูลค่าของอุปกรณ์โหลดต่าง ๆ ที่จะต้องป้องกัน รวมถึงมูลค่าทางอ้อม เช่น down time ด้วย ซึ่งเมื่อเกิดความเสียหายกับอุปกรณ์โหลดต่าง ๆ แล้ว ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายหรือขาดรายรับเป็นจำนวนมาก ก็ต้องซื้ออุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกที่มีคุณภาพสูง สามารถป้องกันไฟกระโชกแบบช่วงยาว ( TOVs ) ได้ด้วย เช่น Transient 100KA at 8/20 µSec. และ TOVs 10A 3 Sec. เป็นต้น

Posted in faq